4 เรื่องน่ารู้ การติดตั้งโซล่ารูฟไม่ให้กระทบต่อหลังคา คุ้มค่าต่อการใช้งาน

พื้นที่วางเปล่าบนหลังคาบ้าน หรืออาคาร ซึ่งไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อะไร นอกจากการป้องกันแสงแดด ความร้อน และฝน จะดีกว่าไหม ถ้าพื้นที่เหล่านี้สามารถสร้างคุณค่า ทำให้มีไฟฟ้าฟรีใช้ แบบไม่ต้องพึ่งระบบสายส่ง หรือพึ่งพาน้อยลง ทำให้ค่าไฟแสนแพงที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนลดลงไปด้วย โดยการหันมาพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยการ ติดตั้งโซล่ารูฟ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สูงอย่างหลังคาบ้านหรืออาคาร ที่ทั้งสูงและชัน จำเป็นต้องมีการสำรวจตรวจสอบ ประเมินศักยภาพและความพร้อมของโครงสร้างก่อนการติดตั้ง ทั้งนี้เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อผู้พักอาศัย ใช้งาน รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ช่างที่ดำเนินการ รวมไปถึงอนาคตที่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและซ่อมแซม ซึ่งจะต้องมีการประเมินในด้านใดบ้าง มาค้นหาคำตอบที่น่าสนใจ สร้างความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
1. สภาพหลังคาที่เหมาะสม และสิ่งที่ต้องตรวจสอบ
บ้าน หรืออาคารแต่ละหลัง อาจจะมีโครงสร้างหลังคาที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นไม้ หรือเหล็ก ซึ่งการ ติดตั้งโซล่ารูฟ นั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสำรวจสภาพความแข็งแรงของหลังคา ซึ่งอาจจะมีการเสื่อมโทรมไปตามอายุการใช้งาน เพื่อประเมินศักยภาพความสามารถในการรองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ที่จะดำเนินการติดตั้งบนหลังคาเพิ่มเติม โดยปกติน้ำหนักแผงจะอยู่ที่ราว 10 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งหากเป็นโครงสร้างไม้อาจจะมีปัญหา ต้องทำโครงสร้างเหล็กเพิ่มเติมเพื่อช่วยรับน้ำหนัก ป้องกันการทรุดตัว
2. วัสดุมุงหลังคา และรูปแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสม
อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ตัวอาคาร และการดำเนินการ ติดตั้งโซล่ารูฟ ก็คือ วัสดุที่ใช้ในการมุงหลังคา ซึ่งโดยทั่วไป มักจะเป็นกระเบื้องคอนกรีต, เซรามิก, คอมโพสิต, หิน ซึ่งเพื่อความมั่นคงแข็งแรง จำเป็นต้องมีการนำโครงเหล็กยึดแผงมาติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์ลอยอยู่เหนือหลังคา ไม่ทำให้กระเบื้องผุพังแตกหักเสียหาย และไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม ซึ่งจะทำให้กระทบกระเทือน สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างภายในอาคาร ในกรณีกระเบื้องแนบกันไม่สนิท
3. การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กับหลังคาในรูปแบบต่าง ๆ
รูปแบบการ ติดตั้งโซล่ารูฟ โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่หนึ่ง เป็นการยึดติดกับจุดโครงสร้างหลักคาเดิม หากเป็นรูปแบบที่มีน็อตยึด ซึ่งการติดตั้งในรูปแบบนี้ จะมีข้อดีที่ไม่ต้องทำการเจาะตัดหลังคา ทำให้เกิดความสะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง และไม่เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อหลังคา ส่วนในแบบที่ 2 เป็นการติดตั้งโดยการเจาะเบื้องหลังคา ซึ่งจะทำให้การยึดแผงโซล่าเซลล์กับหลังคามีความแข็งแรง แต่จำเป็นต้องใช้กาวซิลิโคนมาเป็นตัวช่วยในการยึด และการติดตั้งแบบสุดท้าย เป็นแบบสอดใต้กระเบื้อง โดยอาศัยช่องว่างรอยต่อของกระเบื้องในการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อยึดแผงโซล่าเซลล์ ทำให้ไม่ต้องเจาะ หรือรื้อน๊อตที่ยึดกระเบื้องเดิม
4. ระยะทางการเดินสายไฟ รวมไปถึงความปลอดภัยในการขึ้นไปติดตั้ง
อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่นำมาพิจารณา ประเมินความพร้อมในการ ติดตั้งโซล่ารูฟ ไม่ได้ นั่นก็คือ ระยะทางในการเดินสายไฟ ไปยังแผงควบคุมภายในอาคาร เนื่องจากหากระยะทางไกลมาก ก็จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การคำนวณ และเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ทั้งในด้านการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และจุดควบคุมระบบ ซึ่งควรอยู่ใกล้จุดเดิมที่รวมชุดควบคุมไฟฟ้าไว้ นอกจากนั้นความปลอดภัยในการขึ้นไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา ก็จำเป็นต้องตรวจเช็ค ทั้งในด้านการขึ้นลง การลำเลียงแผง และอุปกรณ์ ที่ต้องไม่ลำบากมากจนเกินไป
สำหรับการ ติดตั้งโซล่ารูฟ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการผลิตไฟฟ้า รวมไปถึงตัวอาคาร จึงมีความจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ในด้านความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ที่พักอาศัย ผู้ใช้งาน รวมไปถึงช่างที่รับผิดชอบในการติดตั้ง และบำรุงรักษา และที่สำคัญคือต้องสร้างความคุ้มค่า ตอบโจทย์ต่อเป้าหมายในการลดค่าไฟ และทำให้มีไฟฟ้าใช้ในประมาณที่ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล โดยหนึ่งในบริษัทที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในธุรกิจนี้มากกว่า 20 ปี เราขอแนะนำ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ ให้บริการแบบครบวงจร ที่มีทีมงานคุณภาพพร้อมให้บริการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

