สรุปขั้นตอนติดต่อ 3 หน่วยงาน ดำเนินการขออนุญาตติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด
จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ออนกริดต้องแจ้งหน่วยงานก่อน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ติดต่อใครบ้าง และต้องทำอะไรบ้าง อ่านต่อได้ภายในบทความนี้..

หนึ่งในวิธีช่วยลดค่าไฟได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม นั้นคือการหันมาติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด ซึ่งเป็นระบบการผลิตไฟฟ้าใช้เองจากแผงโซลาร์เซลล์ และเชื่อมระบบเข้ากับสายส่งของการไฟฟ้า เพื่อให้สามารถลดค่าไฟในช่วงกลางวัน และมีไฟฟ้าใช้ในช่วงกลางคืน โดยไม่ต้องเก็บสำรองในแบตเตอรี่ แต่ก่อนจะดำเนินการติดตั้งนั้น เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามกฏหมาย และข้อกำหนดของการไฟฟ้า จึงต้องมีการดำเนินการขออนุญาตและแจ้งให้หน่วยงานต่างๆรับทราบก่อนติดตั้งระบบออนกริด ซึ่งต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1. ติดต่อขออนุญาตติดตั้งระบบออนกริดกับคณะและแจ้งให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอนุมัติหรือรับทราบ
การเริ่มต้นดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าแบบออนกริดนั้น ต้องเริ่มต้นจากการจัดทำแบบแปลนติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยมีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองแบบ ก่อนนำไปยื่นขออนุญาตต่อหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อาคารนั้นๆ ตั้งอยู่ อาจจะเป็นสำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต. แล้วแต่พื้นที่ โดยหากพื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นมีขนาดเกินกว่า 160 ตารางเมตร น้ำหนักเกินกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ต้องยื่นแบบขออนุญาต อ. 1 ในการดัดแปลงอาคาร แต่หากไม่เกินขนาดที่กฏหมายกำหนด ให้ยื่นเรื่องเพื่อแจ้งให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ เพื่อออกหนังสือรับรองให้ก่อนเริ่มติดตั้ง นอกจากนั้นผู้ติดตั้งยังต้องมีการตรวจสอบพื้นที่อาคารของตัวเองว่า อยู่ในพื้นที่ควบคุมอาคารหรือไม่ เพื่อความแน่ใจ สามารถสอบถามได้จากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ โดยหากอยู่นอกเขตควบคุมอาคาร ก็ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ยกเว้นในกรณีที่อาคารนั้นๆ มีลักษณะเป็นอาคารใหญ่พิเศษ คือมีพื้นที่เกินกว่า 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือ มีความสูงเกิน 23 เมตรขึ้นไป ในกรณีนี้จำเป็นต้องมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารก่อน

2. ติดต่อขออนุญาตติดตั้งระบบออนกริดกับคณะกรรมการกิจการพลังงาน หรือ กกพ.
เมื่อผ่านการอนุมัติและรับทราบจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว จะต้องนำเอกสารที่ได้รับการรับรองนั้น มาดำเนินการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ณ สำนักงานคณะการกิจการพลังงาน หรือ กกพ. หรือสามารถดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ www.erc.or.th โดยต้องมีการแนบหลักฐานต่างๆ เช่น เอกสารขออนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือ ข.1 เอกสารสำรวจอาคาร หรือ อ. 1 เมื่อดำเนินการขั้นตอนนี้ผ่านเรียบร้อยก็จะต้องไปสู่การประสานงานกับหน่วยงานต่อไป ในการเชื่อมต่อระบบออนกริดเข้ากับระบบของการไฟฟ้า

3. ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ตรวจสอบเชื่อมระบบ
เมื่อมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแบบออนกริดเรียบร้อยแล้ว และผู้ติดตั้งได้รับหนังสืออนุญาตประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตจากทางคณะกรรมการกิจการพลังงาน หรือ กกพ. มาเรียบร้อยแล้วเช่นกัน หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการประสานงานต่อกับทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วแต่เขตพื้นที่ซึ่งอาคารเหล่าที่ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นตั้งอยู่ เพื่อเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าเข้ามาดำเนินการตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า เมื่อผ่านการตรวจเช็คแล้ว ทางการไฟฟ้าจะเชื่อมต่อระบบสายส่ง เข้ากับระบบของโซลาร์เซลล์ หลังจากนั้นก็จะต้องไปชำระค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เสร็จเรียบร้อย ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากนั้นก็สามารถเริ่มต้นดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในระบบออนกริดได้ทันที

จากรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ข้างต้น ผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบออนกริดคงกำลังกังวลถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนต่อบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบโซลาร์เซลล์มาก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ทุกขั้นตอนได้รับการตรวจสอบ และดำเนินการอย่างถูกต้องรัดกุม ไม่ติดขัด จึงต้องมีบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบและติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เข้ามาดูแล ซึ่งจะช่วยลดภาระในการติดต่อประสานงาน และมีการดำเนินการที่ราบรื่นมากยิ่งขึ้น
โดยหากกำลังมองหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ออนกริดโดยตรง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร พร้อมให้บริการ โดยทีมงานคุณภาพ ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ครอบคลุมตั้งแต่สำรวจสถานที่ ไปจนถึงการดำเนินการติดตั้ง และประสานงานขออนุญาตกับหน่วยงานต่างๆ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

