รวม 5 อุปกรณ์เชื่อมต่อโซล่าเซลล์ วงจรระบบออนกริด ที่ควรรู้จักเข้าใจ ก่อนติดตั้ง
วงจรระบบออนกริด เป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่ได้รับความนิยม ในบทความนี้ เราจะมาพาทุกท่านมาความรู้จักกับ 5 อุปกรณ์สำคัญ ที่ควรรู้จักก่อนติดตั้งระบบออนกริด

สำหรับบ้านเรือน สำนักงาน หรือโรงงานที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้ วงจรระบบออนกริด ซึ่งเป็นระบบที่มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าจากทั้งแผงโซล่าเซลล์ และยังสามารถเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้าได้ด้วย ทำให้สามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดเวลา แม้ว่าในช่วงกลางคืนแผงโซล่าเซลล์จะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ โดยการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออน กริดนั้น จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นวงจรเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าวงจรระบบออนกริดรูปแบบนี้ไว้ใช้งาน ควรเรียนรู้เป็นความเข้าใจเบื้องต้น ว่าแต่ละอุปกรณ์มีหน้าที่ และการใช้งานอย่างไร มาติดตามกันเลย
1. แผงโซล่าเซลล์สำหรับวงจรระบบออนกริด
อุปกรณ์ชนิดนี้ เรียกได้ว่าขาดไม่ได้สำหรับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ประเภท คือ โมโนคริสตัลไลน์ โพลีคริสตัลไลน์ และชนิดฟิล์มหรืออะมอฟัส จะทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์เพื่อนำมาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจำนวนแผงที่จะติดตั้งสำหรับ วงจรระบบออนกริด จะต้องผ่านการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวันว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิด แต่ละชนิดใช้ไฟเท่าไหร่ และเปิดใช้งานในแต่ละวันกี่ชั่วโมง เพื่อนำผลรวมมาแปลงเป็นค่าพลังงานไฟฟ้าที่ต้องผลิตได้

2. DC Combiner Box
กล่องนี้ ถือเป็นจุดศูนย์รวมของสายไฟต่าง ๆ โดยจะเชื่อมต่อสายไฟจากแผงโซล่าเซลล์ของวงจรระบบออนกริด ซึ่งส่งกระแสไฟฟ้าที่เป็นกระแสตรง หรือ DC มาผ่านจุดนี้ ก่อนที่จะส่งต่อไปยังชุดแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ Inverter นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ DC Switch รวมไปถึง Surge Protection ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า มาเป็นตัวช่วยสร้างความปลอดภัยให้แก่ระบบด้วย
3. On Grid Inverter
การนำไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์วงจรระบบออนกริด ซึ่งเป็นกระแสตรง หรือ DC มาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้นั้น จำเป็นต้องมีการแปลงให้เป็นกระแสสลับ หรือ AC ก่อน โดยอุปกรณ์ที่จะทำมาทำหน้าที่นี้ ก็คือ On Grid Inverter หรือบางคนจะเรียนกว่า Grid Tie Inverter ซึ่งมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ให้สามารถเชื่อมต่อกับไฟฟ้าที่มาจากระบบสายส่ง ทำให้สามารถใช้งานไฟฟ้าจากทั้ง 2 แหล่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. Circuit Breaker
สำหรับ วงจรระบบออนกริด จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโหลด สายไฟ ซึ่งจำเป็นต้องมีการติดตั้งให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดคิด ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงต่อระบบโซล่าเซลล์ได้
5. Digital Miter
ในการใช้งานระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์แบบวงจรระบบออนกริด ซึ่งมีการเชื่อมต่อระบบเข้ากับสายส่งของการไฟฟ้านั้น เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินย้อนกลับ ทำให้มิเตอร์ที่เป็นจานหมุน เหมือนที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปใช้งานกันหมุนย้อนกลับ ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกเก็บเงินค่าไฟได้ เมื่อผู้ติดตั้งได้ยื่นขออนุญาตเชื่อมต่อระบบกับทางการไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง และดำเนินการทดสอบระบบผ่านเรียบร้อยแล้ว จะมีการนำดิจิตอลมิเตอร์มาติดตั้งแทนมิเตอร์แบบจานหมุน เพื่อให้สามารถวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเชื่อมต่อ วงจรระบบออนกริด จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มาติดตั้ง หรือหากดำเนินการด้วยตัวเอง ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ติดตั้งได้ สำหรับผู้ที่ต้องการผู้มีประสบการณ์เข้ามาดูแลระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานโซล่าเซลล์สามารถขอความรู้และคำแนะนำได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

