รวม 5 ชุดอุปกรณ์ แผงควบคุมโซล่าเซลล์ ที่ผู้สนใจติดตั้งควรรู้ไว้ใช้งาน

การทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากมีแผงโซล่าเซลล์ เป็นหัวใจสำคัญในการให้กำเนิดไฟฟ้าแล้ว ยังมีชุดอุปกรณ์ต่าง ๆที่อยู่ในกลุ่ม แผงควบคุมโซล่าเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ส่งเสริมให้การทำงานของระบบโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพ ป้องกัน ควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทั้งผู้ใช้งาน รวมไปถึงหยุดยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ที่สนใจต้องการติดตั้งระบบพลังงานสะอาดในรูปแบบนี้ไว้ใช้งาน ควรมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐาน เพื่อจะได้ใช้งาน พร้อมทั้งตรวจสอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะแต่ละชนิดมีหน้าที่ และส่วนประกอบอย่างไรบ้าง มาติดตาม และเรียนรู้ไปด้วยกันได้เลย
1. ตู้ควบคุม (Consumer Unit)
แน่นอนว่าในแต่ละบ้านจำเป็นต้องมีจุดศูนย์รวมที่เป็นแผงควบคุมอุปกรณ์การจ่ายไฟฟ้าไปยังระบบต่าง ๆ ภายในบ้าน ซึ่งเรียกกันว่าตู้ควบคุม หรือ Consumer Unit โดยเป็นแหล่งรวมของสายไฟจากจุดรับนำเข้า ไม่ว่าจะเป็นจากระบบสายส่งของการไฟฟ้า หรือจะเป็นจากการผลิตด้วยแผงโซล่าเซลล์ และนำส่งจ่ายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าในจุดต่าง ๆ ทั้งระบบแสงสว่าง หรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ต้องเสียบปลั๊ก เพื่อเปิดใช้งาน โดยตู้ควบคุมนี้จะเป็นจุดตรวจสอบในกรณีที่ระบบไฟฟ้าเกิดปัญหา รวมไปถึงมีระบบป้องกันต่าง ๆ ของ แผงควบคุมโซล่าเซลล์ รวมอยู่ด้วย
2. ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)
เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าโดยใช้แผงโซล่าเซลล์ กระแสไฟฟ้าตั้งต้นที่ได้จะอยู่ในรูปของกระแสตรง หรือ DC จึงยังไม่สามารถนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านได้ จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิด นั่นคือ ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ Inverter เข้ามาทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรง ให้เป็นกระแสสลับ หรือ AC นอกจากนั้นยังช่วยรักษาแรงดันไฟฟ้าให้มีความเสถียร ไม่เกิดการกระชากจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ ก็จะถูกติดตั้งอยู่ในกลุ่ม แผงควบคุมโซล่าเซลล์
3. ชุดควบคุมการประจุไฟฟ้า (Solar Charger)
สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออฟกริด (Off Grid) ซึ่งเป็นระบบที่พึ่งพาตัวเอง ไม่ได้อาศัยไฟฟ้าจากระบบสายส่ง จึงจำเป็นต้องมีการประจุไฟฟ้าเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่สำหรับไว้ใช้งานในช่วงกลางคืน หรือในช่วงที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ โดยจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ชุดควบคุมการประจุไฟฟ้าหรือที่เรียนกว่า Solar Charger โดยมีหน้าที่จะการควบคุมปริมาณการชาร์ตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์เข้าสู่แบตเตอรี่ไม่ให้มากเกินไป ที่จะทำให้เกิดการระเบิดเสียหาย โดยจะตัดระบบทันทีเมื่อชาร์ตเต็ม เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นของ แผงควบคุมโซล่าเซลล์
4. Serge Protection
ด้วยสภาพอากาศเมืองไทยที่มีทั้งแดด และฝน แปรปรวนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การเกิดฟ้าผ่า ที่จะสร้างความเสียหายต่อระบบผลิตไฟฟ้าโดยแผงโซล่าเซลล์จึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องระวัง โดยจำเป็นต้องมีการติดตั้ง Serge Protection ที่จะทำหน้าที่ในการป้องกันการเกิดฟ้าผ่า ป้องกันไฟกระชาก ซึ่งจะช่วยลดแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง ที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อระบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้หยุดทำงาน ชำรุด หรือชุดคำจำของอุปกรณ์ได้รับความกระทบกระเทือน จนส่งผลกระทบต่อการทำงานได้
5. Smart Power Sensor
สำหรับบ้านเรือนหรืออาคารที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์แบบออนกริด (On Grid) ซึ่งมีการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าเข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในกรณีที่ระบบโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้เกินกว่าปริมาณการใช้งาน ก็จะเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าไหลกลับไปยังระบบสายส่ง ซึ่งจะทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าย้อนกลับ ทำให้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าผิดเพี้ยน และอาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานซ่อมแซมไฟฟ้าได้ จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบ Smart Power Sensor เพื่อป้องกันไฟย้อนกลับสายส่ง ลดปริมาณกำลังการผลิตให้พอดีกับการใช้งาน
แผงควบคุมโซล่าเซลล์ ถือเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ตัวควบคุมการทำงาน และป้องกันอันตรายจากเหตุความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อระบบ ซึ่งผู้ใช้งานควรหมั่นตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอว่าระบบอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ยังทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพสม่ำเสมอหรือไม่ หากพบความผิดปกติ ควรรีบแจ้งช่างผู้มีความชำนาญเข้ามาแก้ไข หากยังไม่มีบริษัทไหนในใจ เราขอแนะนำ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

