โซลาร์เซลล์คืออะไร ไขคำตอบ 5 เรื่องเสริมความเข้าใจ ก่อนมีไฟให้ใช้ฟรี
ไขข้อข้องใจ โซลาร์เซลล์คืออะไร ใน 5 มุมมอง

ไฟฟ้าปัจจุบันผลิตขึ้นจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ โดยในอนาคตต้นทุนการผลิตไฟฟ้าชนิดนี้มีทิศทางจะสูงขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีจำนวนลดลง พลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าในอนาคต ก่อนที่จะไปใช้ไฟฟรี ทุกคนจึงควรมีความเข้าใจก่อนว่า “โซลาร์เซลล์คืออะไร” ผลิตขึ้นมาจากอะไร และมีกระบวนการอย่างไร ในการผลิตไฟฟ้า มาค้นหาคำตอบที่คุณสงสัยกันได้เลย
1. ค้นหาความหมาย “โซลาร์เซลล์คืออะไร”
หากจะอธิบายกันอย่างง่ายๆ ถึงความหมายที่ว่า โซลาร์เซลล์คืออะไร ก็ต้องบอกว่า โซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยอาศัยแสง ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกตามธรรมชาติ มาแปลงให้เป็นกระแสไฟฟ้า ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า “โฟโตโวลตาอิก” จนเกิดเป็นพลังงาน สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆได้

2. อะไรคือต้นกำเนิดของโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์ ผลิตขึ้นมาจากการนำหิน ดิน ทราย มาผ่านกระบวนการสกัดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำเอาธาตุซิลิกอนบริสุทธ์ออกมา ก่อนที่จะนำธาตุนี้มาขึ้นรูปให้กลายเป็นแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับแผงโซลาร์เซลล์ เกิดจากการนำเอาโซลาร์เซลล์ชิ้นเล็กๆ มาต่อกันเป็นวงจร เชื่อมต่อให้เกิดเป็นระบบที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมากขึ้น โดยกระแสไฟที่ผลิตได้จะมีลักษณะเป็นกระแสตรง หรือ DC

3. โซลาร์เซลล์ มีการทำงานอย่างไร
หนึ่งในคำถามที่ถูกพ่วงมากับคำว่า โซลาร์เซลล์คืออะไร ก็คือ แล้วมันมีการทำงานอย่างไร ถึงมีไฟฟ้าเกิดขึ้นได้ เล่าให้ฟังแบบเข้าใจไม่ยากก็คือ แผ่นซิลิคอนสีดำๆ ที่อยู่บนแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ ที่จะเป็นตัวดูดซับแสงจากดวงอาทิตย์ แล้วทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนที่เป็นตัวทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า เมื่อมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา ก็จะทำให้มีไฟฟ้าเกิดขึ้นต่อเนื่องนั่นเอง New Paragraph

4. โซลาร์เซลล์ มีกี่ประเภท
หลักๆแผงโซลาร์เซลล์จะมีด้วยกันอยู่ 3 ประเภท ประกอบด้วย
- 1. แบบโมโนคริสตัลไลน์ ซิลิกอน หรือโมโน วิธีสังเกตง่ายๆคือ แผงลักษณะนี้แต่ละเซลล์จะเรียงต่อกันลักษณะมุมทั้ง 4 จะเป็นมุมตัด และมีสีเข้ม มีข้อดีคือเป็นแผงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ก็มีข้อเสียตรงราคาจะสูงกว่าประเภทอื่น
- แบบโพลีคริสตัลไลน์ ซิลิกอน หรือโพลี แผงลักษณะนี้จะแตกต่างจากโมโนตรงที่มีลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ไม่มีการตัดมุม ลักษณะสีจะเป็นสีน้ำเงินไม่เข้มมาก ข้อดีคือแผงชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานในอุณหภูมิสูง ได้ดีกว่าแบบโมโน ในขณะที่มีราคาที่ถูกกว่า แต่ก็จะมีข้อเสีย ทางด้านประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่จะต่ำกว่าแบบโมโน ต้องใช้พื้นที่มากกว่า ผลิตไฟได้น้อยกว่า
- แบบอะมอร์ฟัส แผงนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางเรียบไปตลอดทั้งแผ่น โดยแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบนี้ จะได้รับความนิยมติดตั้งในลักษณะโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ ไม่ค่อยมีการนำมาติดตั้งในที่อยู่อาศัยประเภทบ้าน หรืออาคารหน่วยงาน ข้อดีคือมีต้นทุนที่ถูกกว่าประเภทอื่นๆ และทำงานได้ดีในสภาพแสงน้อย ข้อเสียคือแผงชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด

5. ระบบให้กำเนิดพลังไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีกี่ชนิด
- ระบบออนกริด (On Grid) รูปแบบนี้จะมีไฟฟ้าใช้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสายไฟของการไฟฟ้า จึงไม่จำเป็นต้องเก็บกระแสไฟไว้ในแบตเตอรี่ นิยมติดตั้งในบ้าน อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากในช่วงกลางวัน
- ระบบออฟกริด (Off Grid) รูปแบบนี้เหมาะสำหรับสถานที่ห่างไกล ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จึงไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าได้ ระบบนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องมีการคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้สอดคล้องต่อจำนวนแผงและประมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน
- ระบบไฮบริด (Hybrid) ระบบนี้จะมีเสถียรภาพสูงสุด เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระบบออนกริด ออฟกริดเข้าด้วยกัน โดยมีแหล่งจ่ายไฟจากทั้ง 3 แหล่ง คือ แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ และสายส่งจากการไฟฟ้า ปัจจุบันระบบนี้ยังมีการใช้งานไม่มาก เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง

ข้อมูลทั้ง 5 ด้านนี้ คงช่วยไขคำตอบ คลายข้อสงสัยที่ว่า “โซลาร์เซลล์คืออะไร” ทำให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น หากใครที่ต้องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้ารูปแบบนี้ เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า สามารถขอคำปรึกษาจากบริษัทที่เชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

