คืนทุนภายใน 5 ปี จากระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ แบบ On-Grid System

Nung Pr • 5 กันยายน 2564

โซลาร์เซลล์แบบ On-Grid ลงทุนวันนี้อีกกี่ปีคุ้ม

รู้ไหมว่า ความคิดที่ว่า ระบบโซลาร์เซลล์ เป็นระบบที่ไม่คุ้มค่าในการลงทุน เป็นชุดความคิดที่ล้าสมัยไปแล้ว เพราะวันนี้มีระบบออนกริด ที่ไม่ต้องมีแบตเตอรี่ในระบบ มีแดด...ก็มีไฟ ผลิตแล้วใช้งานทันที ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ตอนไหน 

หากเราบอกว่า ระบบนี้สามารถให้คุณคืนทุนได้ภายใน 5 ปี พลังงานสะอาดที่ใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ปีเป็นอย่างน้อยแบบนี้ คุณสนใจไหมครับ

ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่า ระบบโซลาร์เซลลแบบออนกริด ทำงานอย่างไร


โซลาร์เซลล์แบบ On-Grid Sytem ทำงานอย่างไร


 ตอนแรก ๆ หมอโซลาร์เคยอธิบายการทำงานของระบบโซลาร์ไว้แล้วนะครับ หากใครยังไม่ได้อ่าน คลิกกลับไปอ่านได้เลย “การทำงานของระบบโซลาร์เซลล์”

 การทำงานหลัก ๆ ของระบบออนกริด เป็นการทำงานที่ให้ระบบผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้านเรา พึ่งพาการทำงานจากการไฟฟ้าจำหน่าย ซึ่งก็คือ คุณพี่ กฟน. และคุณพี่ กฟภ. นั่นเอง

 เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ไฟฟ้าที่ผลิตมาจากหลังคา จะเพียงพอต่อการใช้ไฟในบ้านหรือไม่ ดังนั้นระบบที่สมบูรณ์จำเป็นต้องพึ่งพาสายส่งของการไฟฟ้า ด้วยการเอาระบบโซลาร์ไปเกาะไว้กับไฟจากการไฟฟ้านั้นเองดูจากแผนภูมิข้างล่างน่าจะพอมองเห็นภาพ



จากแผนภูมิด้านบน อธิบายง่าย ๆ ว่า หลังจากที่แผงโซลาร์บนหลังคา รับแดดที่สาดส่องมาถึงบ้านเรา ก็จะแปลงความเข้มของแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่เราเรียกว่า “ไฟฟ้ากระแสตรง” แล้วส่งไฟทั้งหมดลงมายังอินเวอร์เตอร์ ซึ่งอินเวอร์เตอร์ ก็จะแปลงไปให้เป็น “ไฟฟ้ากระแสสลับ” ซึ่งเป็นไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ในบ้านของเรานั่นเอง

           แต่อย่างที่หมอโซลาร์เคยบอกว่า เราไม่รู้ว่า ไฟที่ลงมาบนหลังคาจะเพียงพอต่อการใช้กับเครื่องใช้ในบ้านหรือไม่ ดังนั้นเราจึงต้องเอาไฟที่ผลิตได้ จากอินเวอร์เตอร์ไปต่อ”ขนาน” เข้ากับ ไฟจากการไฟฟ้า ซึ่งจากภาพจะเห็นว่า เราต่อเข้าไปบนสายเส้นเดียวกัน แล้วเอาไฟที่ได้ “รวมกัน”  เพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้เลย ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำระบบไฟฟ้าในบ้านของเราเพิ่มเติมอีก สามารถนำไฟ้ที่ได้จากระบบโซลาร์ ไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกชนิดได้อย่างปลอดภัย


หลักการทำงานของฏซลาร์เซลล์ระบบออนกริด เป็นอย่างไร

อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันแล้วล่ะสิ ว่า เมื่อไฟฟ้ามาผสมกันอย่างนี้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ใช้ไฟจากอะไรอยู่ ระบบโซลาร์เซลล์ หรือใช้ไฟจากการไฟฟ้ากันแน่


ก่อนอื่นหมอโซลาร์ ขออธิบายเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ ก่อนนะครับ ว่าการทำงานของระบบไฟฟ้านั้นทำงานอย่างไร ถ้าจะมองให้เห็นภาพ ให้ทุกคนจินตนาการเป็นภาพเดียวกัน ลองคิดว่า ถ้าไม่ใช่ไฟฟ้า แต่เป็นน้ำประปาล่ะ น่าจะเข้าใจง่ายกว่า

ลองคิดว่า ระบบโซลาร์บนหลังคา ก็เหมือนถังเก็บน้ำที่อยู่บนบ้านของเรา ที่มีแรงดันสูงกว่า น้ำประปา ที่ต่อเชื่อมไว้ในก๊อกเดียวกัน

เวลาเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็เหมือนกับเราเปิดก๊อกน้ำ ดังนั้นน้ำที่ไหลลงมา จะเป็นน้ำที่มีแรงดันสูงกว่า นั่นก็คือน้ำที่อยู่บนถังพักน้ำนั่นเอง เฉกเช่นเดียวกันกับระบบโซลาร์เซลล์เลยครับ ไฟที่ผ่านอินเวอร์เตอร์มา จะมีแรงดันสูงกว่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าอยู่นิดหน่อย ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ดึงไฟจากระบบโซลาร์มาใช้ก่อนเสมอ


แต่ถ้าหากไม่พอ ระบบก็จะไปดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ร่วมด้วย แบบ “ผสมกันใช้งาน” ไปเลย โดยไม่มีการตัดต่อไฟ ใด ๆ ทั้งสิ้น จินนาการถึงน้ำสองแหล่งจากถังพักน้ำบนหลังคาและน้ำประปาในท่อหน้าบ้านไหลรวมกันมาในท่อเดียวกัน แบบนั้นเป๊ะ ๆ เลยครับ

คราวนี้มันก็จะมีบางช่วงเวลาที่ไฟที่อยู่บนหลังคา อาจจะผลิตได้มากกว่าที่ใช้อยู่ในบ้าน เช่นเราเปิดก๊อกทุกก๊อกในบ้าน แล้วน้ำเต็มถังหมดแล้ว แต่น้ำที่อยู่บนถังยังมีเหลืออยู่ ดังนั้นตามธรรมชาติของแรงดัน เค้าก็จะต้องหาทางไป ซึ่งนั่นก็จะเป็นช่วงเวลาที่น้ำของเราจะไหลออกไปรวมกับน้ำที่อยู่ในท่อประปาหน้าบ้าน

ช่วงเวลานี้ ก็จะเป็นการขายไฟส่วนที่เหลือ คืนการไฟฟ้าในโครงการโซลาร์ภาคประชาชนนั่นเอง

ส่วนเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้บ้านของเราใช้งานจากระบบไหนอยู่นั้น อันนี้ต้องอยู่ที่การติดตั้งนะครับ เพราะว่าหากติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เราจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า Power Meter ซึ่งจะทำหน้าที่วัดการใช้ไฟในตัวบ้าน และวัดปริมาณของไฟฟ้าที่ลงมาจากหลังคา รวมถึงแสดงผลให้เห็นว่า ตอนนี้บ้านของเราใช้งานจากระบบอะไรอยู่   


           ซึ่งจากภาพนี้เป็นการติดตั้งด้วยอินเวอร์เตอร์ Huawei แล้วมีการติด Power Meter ไว้ด้วย เราจะเห็นได้ว่า ระบบจะแสดงให้เห็นชัด ๆ แบบนี้ครับ



แดง : หมายถึงช่วงเวลาที่เราดึงไฟฟ้าจากกระบบของการไฟฟ้ามาใช้

           สีน้ำเงิน : ช่วงเวลาที่เราใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์เป็นหลัก

           สีเขียว : ช่วงเวลาที่ระบบผลิตไฟได้เกินกว่าที่ใช้งาน (ขายคืนการไฟฟ้า)

 

ข้อดี-ข้อเสียของโซลาร์เซลล์ระบบ On-Grid


ข้อดีของระบบออนกริด

1.   ลดภาระค่าไฟฟ้า  อันนี้เป็นประโยชน์โดยตรง เพราะว่าแทนที่เราจะเอาไฟจากการไฟฟ้ามาใช้งาน เราใช้ไฟจากโซลาร์เซลแทนในช่วงเวลานั้น ซึ่งมันจะสามารถทำให้เราใช้ไฟในช่วงกลางวันได้อย่างสบายใจ และหากบ้านไหน ที่จ่ายค่าไฟแบบ TOU ซึ่งช่วง Peak หรือตอนกลางวันค่าไฟแพงกว่าตอนกลางคืน  ค่าไฟก็จะประหยัดลงอย่างเห็นได้ชัด หมดห่วงเรื่องบิลค่าไฟฟ้าไปได้เลย

2.   ไฟส่วนที่เหลือสามารถขายไฟคืนให้กับไฟฟ้าได้  เพราะว่าตอนนี้มีโครงการชื่อ “โซลาร์ภาคประชาชน” ที่สามารถขายไฟส่วนที่เหลือคืนการไฟฟ้าได้ด้วย แต่มีเงื่อนไขว่า หากจะขายไฟคืน ระบบที่ติดตั้งต้องได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้ารับรอง ซึ่งหากต้องการเข้าร่วมโครงการนี้จะทำอย่างไร และมีรายละเอียดอะไรบ้างนั้น ตอนหน้าหมอโ.ลาร์จะมาอธิบายเรื่องโครงการนี้ให้ฟังโดยละเอียดเลยนะครับ แต่เบื้องต้น อยากให้พิจารณาเรื่องการคัดเลือกผู้ติดตั้งก่อนเลยว่า สามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้ากำหนดไหม และเข้าร่วมร่วมโครงการนี้ได้หรือเปล่า เพราะถ้าหากใช้อุปกรณ์ได้ตามมาตราฐานที่ทางการไฟฟ้ากำหนด ก็ไม่สามารถยื่นขายไฟได้ นะครับ

3.   ราคาไม่สูงเท่าระบบออฟกริด เพราะระบบออนกริดต้องใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บพลังงานซึ่งในปัจจุบันแบตเตอรี่ยังคงมีราคาสูงมาก แต่ถ้าเปรียบเทียบราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์เมื่อ 5-10 ปีที่แล้วราคาปัจจุบันนี้ถือได้ว่าลดลงมาไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งเป็นราคาที่สามารถจับต้องได้ ถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มทุนสุดๆ

 

 

ข้อเสียของระบบออนกริด

1.   ช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือช่วงเวลากลางคืน ระบบนี้จะไม่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา ซึ่ง ณ เวลานี้ระบบจะดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้แทน

2.   กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับหรือไฟตก ระบบก็จะหยุดทำงานไปด้วย ตามมาตรฐานของระบบออนกริดที่การไฟฟ้ารับรองนั้นจะหยุดการทำงานไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นระบบนี้จึงไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาไฟตก หรือไฟดับนะครับ

 

พลังงานสะอาด ผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์แบบ On-Grid ไว้ใจ Solar Power Creation

หากคุณกำลังเป็นคนนึงที่กำลังตัดสินใจที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบ On-Grid หรือ Solar Rooftop ให้ power creation ได้เป็นส่วนนึงในการตัดสินใจของคุณ ด้วยประสบการณ์ยาวนานมากว่า 20 ปี พร้อมกับทีมงาน และทีมวิศวกร ที่ได้มาตรฐาน พร้อมให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพโดยมีวิศวกรควบคุมทุกหน้างาน การยื่นประสานงานภาครัฐ การให้บริการหลังการขายอย่างเต็มใจ one stop service  คิดจะติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์ solar Rooftop ให้คิดถึงทีมงาน Solar Power Creation และทีมงานหมอโซล่า นะครับ


โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม