หลังคาบ้านโซล่าเซลล์กับ 5 เรื่องเล็ก ๆ ที่ต้องใส่ใจ

แม้ว่าการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นไฟฟ้า โดยอาศัย หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ จะมีประโยชน์มากมายในหลายด้าน แต่หากขาดการดูแลใส่ใจในบางเรื่องจากทั้งผู้เป็นเจ้าของบ้าน ผู้ดูแลของหน่วยงาน บริษัท ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่หากสะสมนานวันเข้า สิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างปัญหาใหญ่ ๆ ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน ต้องสูญเสียงบประมาณในการแก้ไข ซ่อมบำรุง ทำให้เสียอารมณ์ เครียด และต้องเสียเวลาในการมานั่งจัดการเคลียร์ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ แทนที่จะนำไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์มากกว่า ซึ่งมีประเด็นใดที่ควรใส่ใจและคำนึงถึงตั้งแต่ก่อนติดตั้ง ไปจนถึงหลังเริ่มต้นใช้งานระบบโซล่าเซลล์ไปแล้วบ้าง มาเรียนรู้ และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหาล่วงหน้ากัน
1. พิจารณาความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคา คำนึงถึงอนาคตที่ต้องติดตั้งแผงระยะยาว
เรื่องนี้อาจจะมีใครหลายคนที่มองข้าม โดยพิจารณาเพียงสภาพความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะละเลย หรือลืมไปว่าระบบผลิตไฟฟ้าด้วย หลังคาโซล่าเซลล์ จะมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 25 – 30 ปี ซึ่งนั่นหมายถึง ก่อนการติดตั้งต้องมั่นใจว่าในอนาคตข้างหน้าโครงสร้างหลังคาที่ได้ดำเนินการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไปแล้ว จะยังคงมั่นคง แข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ดี ไม่กระทบกระเทือนถึงโครงสร้างของตัวอาคาร หรือบ้านในระยะยาว
2. ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ผิดทิศ อาจทำให้ประสิทธิภาพไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ประสิทธิภาพในการทำงานของ หลังคาโซล่าเซลล์ จะเกิดขึ้นได้ นอกจากการเลือกใช้แผงที่มีคุณภาพแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างก็คือ การติดตั้งที่ดี ทั้งในด้านทิศทาง ที่ควรหันหาแสงอาทิตย์ในทางทิศตะวันตก หรือทิศใต้ ในระดับคาดลาดชันของโครงสร้างติดตั้ง หรือหลังคาที่มีความเหมาะสม เพื่อให้สามารถรับแสงแดดได้ตลอดวัน ซึ่งหาติดตั้งโดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้ ก็อาจจะทำให้การผลิตไฟฟ้าสามารถทำได้ แต่คงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้อาจจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
3. ระวังไม่ให้แผงโซล่าเซลล์ ส่งผลต่อระบบระบายน้ำบนหลังคา ช่วงหน้าฝน
แม้ว่าจะช่วงฤดูมรสุม ที่มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งวัน จะทำให้แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ต่ำลง จากสภาพแสงแดดที่มีน้อย แต่อีกปัญหาหนึ่งที่ควรใส่ใจไม่แพ้กัน ก็คือ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้แสงอาทิตย์นั้น ไม่ควรไปขัดขวางระบบระบายน้ำฝนบนหลังคา ซึ่งหากเกิดการอุดตัน หรือรั่วซึม ในจุดที่มีการยึดแผงโซล่าเซลล์ ก็อาจจะทำให้หลังคาต้องรับน้ำหนักมากขึ้น หรือทำให้พังถล่มลงมา สร้างความเสียหายต่อตัวอาคาร หรือบ้านได้ ก่อนการดำเนินการติดตั้ง จึงควรสำรวจ หรือวางแผนให้แน่ใจว่าจะไม่กระทบกับเรื่องนี้
4. กระบวนการติดตั้งขาดการดูแลเรื่องความปลอดภัย ทำให้กระทบต่อโครงสร้างของบ้าน
ในขั้นตอนการติดตั้ง หลังคาโซล่าเซลล์ นั้น นอกจากจำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้งานแล้ว ความปลอดภัยต่อตัวโครงสร้างอาคาร บ้าน ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องระวังเป็นพิเศษเช่นกัน โดยระหว่างการขนย้ายอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นไปติดตั้ง ควรมีการวางแผนลำเลียงไม่ให้กระทบต่อผนัง หรือหลังคา รวมทั้งการเจาะยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ควรระบุตำแหน่งที่ชัดเจน เพราะหากเจาะผิดพลาด อาจจะทำให้บ้านเรือน อาคาร เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่สวยงามเหมือนแต่ก่อน
5. ขาดการวางแผนดูแล ซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลาในการใช้งาน
หลังจากมีการติดตั้ง และสามารถใช้งานได้แล้ว การทำให้ระบบมีประสิทธิภาพดี ใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพและความสามารถ ย่อมต้องเกิดการจากการดูแล และบำรุงรักษาที่ดีด้วยเช่นกัน ดังนั้น ควรมีการทำแผนการดูแล บำรุงรักษาที่ระบุเวลาที่ชัดเจน สม่ำเสมอ เพื่อรักษาคุณภาพของอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้ทนนาน ไม่เสื่อมก่อนเวลาอันควร รวมทั้งหากเกิดความผิดปกติ จะได้ซ่อมแซม ก่อนที่จะลุกลามกระทบไปยังจุดอื่น ๆ
การติดตั้งระบบ หลังคาโซล่าเซลล์ แม้ว่าจะสามารถมอบหมายให้บริษัทที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทั้งการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาเข้ามาดูแลได้ แต่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหรือบริษัทให้มีหน้าที่ดูแล ก็จำเป็นจต้องเข้าใจในรายละเอียด และสิ่งที่ต้องระมัดระวังให้ความใส่ เพื่อส่งเสริมให้ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานโซล่าเซลล์ ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าต่อการลงทุน สำหรับท่านที่กำลังมองหาตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ใส่ใจในทุกขั้นตอน เราขอแนะนำ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทที่ปรึกษา และให้บริการแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

