4 เรื่องควรรู้ ก่อนยื่น ขายไฟให้การไฟฟ้า ที่ผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ควรทำความเข้าใจ
อะไรที่ควรรู้บ้าง ก่อนยื่นขายไฟให้การไฟฟ้า วันนี้หมอโซลาร์มีคำตอบครับ

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในบ้านหรือในหน่วยงาน นอกจากจะมีไฟฟ้าฟรีไว้ใช้แล้ว ไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือจากการใช้งานยังสามารถส่งขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยการยื่น ขายไฟให้การไฟฟ้า นั้น ต้องอาศัยขั้นตอนและเอกสารในการขออนุญาตดำเนินการค่อนข้างซับซ้อนหลายขั้นตอน ผู้สนใจที่จะดำเนินการด้วยตนเองจึงควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ และเข้าใจก่อนลงทุนติดตั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเงิน เวลา รวมทั้งอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่มุ่งหวังไว้ได้ โดย 5 เรื่องควรรู้ ก่อนยื่น ขายไฟให้การไฟฟ้า ที่ผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ควรทำความเข้าใจ มีอะไรกันบ้าง มาเรียนรู้ และทำความเข้าใจไปพร้อมกันเลย
1. คุณสมบัติของผู้ยื่นขายไฟให้การไฟฟ้า
สำหรับผู้ที่สนใจจะ ขายไฟให้การไฟฟ้า นั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องต่อข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย เป็นผู้ที่ครอบครองเครื่องจ่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าได้จ่ายไฟให้แล้ว และมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า ผู้ที่ผ่านการพิจารณาจะต้องมาดำเนินการติดต่อการไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นระบบดิจิตอล และชำระค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า การตรวจสอบระบบอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติมด้วย

2. ขั้นตอนการขออนุญาตขายไฟให้การไฟฟ้า
ในการดำเนินการเพื่อขออนุญาตขายไฟให้การไฟฟ้านั้น ผู้ขออนุญาตต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าไปกรอกข้อมูลและแนบเอกสารประกอบการพิจารณาออนไลน์ โดยแยกเป็นพื้นที่สำหรับผู้ที่มีที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ต้องดำเนินการขอกับการไฟฟ้านครหลวง ส่วนในพื้นที่นอกเหนือจากนี้ให้ดำเนินการขอกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หลังจากนั้นจะมีการตรวจสอบเอกสาร และมีการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการชำระค่าบริการเชื่อมต่อโครงข่าย และลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กกพ. ก่อนเริ่มต้นการ ขายไฟให้การไฟฟ้า

3. ข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่ต้องแนบเพื่อการพิจารณา
การกรอกข้อมูลนั้น ผู้ประสงค์จะขายไฟให้การไฟฟ้านั้น ต้องกรอกข้อมูลต่างๆ ทั้งกรอกข้อมูลเครื่องมือวัด กรอกข้อมูลผู้ขอใช้บริการ กรอกข้อมูลแผงโฟโตโวตาอิก กรอกข้อมูลระบบอินเวอร์เตอร์ รวมไปถึงแนบเอกสารประกอบต่าง ๆ ทั้งสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องวัดฯ หากเป็นนิติบุคคลต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคลด้วย รวมทั้งสำเนาค่าไฟฟ้าของอาคารที่ติดตั้งแผง เอกสารแสดงรายละเอียดของแผงโซล่าเซลล์ แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่ติดตั้งแผง แผนภูมิระบบไฟฟ้าที่ผ่านการรับรองโดยวิศวกร สำเนาบัตรประชาชนผู้ประกอบอาชีพวิศวกร ที่ยังไม่หมดอายุ เอกสารแสดงรายละเอียดของระบบอินเวอร์เตอร์ รูปถ่ายบ้านที่อยู่อาศัย หรืออาคารที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หากมอบอำนาจให้บริษัทรับติดตั้งดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

4. ค่าใช้จ่ายต่างๆ
เมื่อส่งเอกสารและผ่านการพิจารณาแล้ว ผู้ขออนุญาต ขายไฟให้การไฟฟ้า ต้องดำเนินการจ่ายค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายการไฟฟ้า การตรวจสอบอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการขออนุญาตกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) จะมีค่าใช้จ่ายรวมราว 2,000 บาท (ยังไม่รวม Vat) โดยการไฟฟ้าจะรับซื้อไฟฟ้าคืนในราคาหน่วยละ 2.20 บาท ต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาในการซื้อคืนจำนวน 10 ปี

จะเห็นได้ว่า กว่าจะสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าจำเป็นต้องผ่านการดำเนินการที่ค่อนข้างซับซ้อนหลายขั้นตอนอยู่พอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในการกรอกข้อมูล หรือการจัดเตรียมเอกสารก็อาจจะต้องเผชิญกับความยุ่งยากสับสน การเลือกบริษัทที่มีความชำนาญเข้ามาดูแลดำเนินการแทนจะช่วยประหยัดเวลาและความยุ่งยากไปได้มากทีเดียว โดยผู้สนใจสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

