กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ กับ 4 ประเด็นที่ต้องเจาะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง

ไม่ว่าจะดำเนินการในเรื่องใด กฏหมายเป็นสิ่งที่เราทุกคนยังต้องเคารพ และศึกษารายละเอียดด้านต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด และสร้างผลกระทบในเชิงลบต่อตัวเอง รวมไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ผู้สนใจนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้ารายเดือน และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน รองรับอนาคตที่มีโอกาสที่จะเกิดสภาวะขาดแคลนไฟฟ้าได้ หากประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาต และประสานงานเพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดโดยเฉพาะของหน่วยงานภาครัฐ เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคดีความ มีการฟ้องร้อง เสียทั้งเงิน และเวลา ซึ่งมีเรื่องใดที่ควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนบ้าง มาติดตามกันได้เลย
1. การแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขอดำเนินการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
สำหรับผู้ที่คิดและวางแผนจะนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ หนึ่งในสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ ก็คือ การเข้าใจถึงแนวทางในการดำเนินการที่สอดคล้องต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ระบุและกำหนดไว้ว่า “การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบโซล่าเซลล์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จะต้องมีผลการตรวจความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฏหมาย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการติดตั้ง”
2. การขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่ายของการไฟฟ้า
ในกรณีที่ผู้สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้งาน และประสงค์จะนำไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้นำมาขายคืนให้กับภาครัฐอย่างการไฟฟ้า จำเป็นต้องมีการขออนุญาตกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งคณะกรรมการกำกับกิจกรรมพลังงาน หรือ กกพ. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการเข้าร่วมโครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน รวมไปถึงผู้รับหน้าที่ในการรับซื้อไฟฟ้าคืน อย่างการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หากเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนหากเป็นจังหวัดอื่น ๆ จะอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งจะต้องมีการยื่นเอกสารต่าง ๆ ให้ทางหน่วยงานพิจารณาก่อนดำเนินการขนานระบบเข้าสู่โครงข่ายการไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องต่อ กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์
3. การติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์ ที่ต้องผ่านการรับรองจาก กฟภ. / กฟน.
ในการออกแบบระบบ และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีการตรวจสอบก่อนเสมอว่า ชุดอุปกรณ์ดังกล่าว เป็นชนิด หรือรุ่นที่ได้มีการรับรองมาตรฐานจากทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงหรือไม่ เพราะในการขอขนานระบบเข้ากับสายส่งของการไฟฟ้า เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานดังกล่าวจะเข้ามาตรวจสอบชุดอุปกรณ์ และทดสอบการทำงานของระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์สามารถทำงานได้เป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ สามารถจ่ายไฟส่วนเกินที่ผลิตได้เข้าสู่สายส่ง โดยไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่ผู้เป็นเจ้าของสถานที่ต้องใส่ใจ และดำเนินการให้ถูกต้องตาม กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อป้องกัน หากมีการตรวจพบว่าดำเนินการผิดพลาด จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไข ทำให้งบประมาณบานปลายได้
4. การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กับมาตรฐานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน
ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ทางสภาวิศวกรแห่งประเทศไทย จึงได้มีการออกมาตรการในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยเฉพาะมาตรฐานระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ซึ่งใช้เป็นระบบตัดการทำงานของโซล่าเซลล์ อย่างในกรณีที่เกิดเหตุไฟไหม้อาคาร นักผจญเพลิงจะได้เข้าไประงับเหตุได้ทันท่วงที และมีความปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลมาจากระบบโซล่าเซลล์ ทำให้สามารถควบคุมเพลิง และเข้าปฏิบัติงานได้โดยไม่มีความกังวล ในด้านการถูกกระแสไฟฟ้าช็อต เพราะต้องใช้น้ำในการดับไฟ
ไม่ว่าขั้นตอนหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ กฏหมายการติดตั้งโซล่าเซลล์ จะมีความซับซ้อนยุ่งยากอย่างไร ผู้สนใจในการทำมาใช้งาน ก็จำเป็นต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจอย่างละเอียด เพื่อจะได้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาต้องถูกดำเนินคดีละเมิดกฏหมาย มีการฟ้องร้องต่าง ๆ นานาตามมา ซึ่งจะสร้างปัญหาระยะยาวแก่ตัวเองได้ โดยหากไม่มั่นใจในการศึกษาด้วยตนเอง ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมืออาชีพเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ยินดีพร้อมเป็นที่ปรึกษา และให้บริการแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

