การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ กับ 4 ประเด็นที่ต้องใส่ใจเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ

ในการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้า และศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับจำนวนแผงที่ต้องดำเนินการติดตั้งเพื่อให้มีไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งาน โดยการเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์จำนวนหลายๆ แผงเข้าด้วยกันนั้น จะทำให้ระบบสามารถเพิ่มแรงดันและจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จะนำไปใช้งานหรือกักเก็บไว้เป็นแหล่งสำรองในแบตเตอรี่ได้ โดยรูปแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์นั้น มีทั้งแบบอนุกรม และ การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ รวมไปถึงการผสมผสานทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์แบบขนานนั้น จำเป็นต้องใส่ใจใน 4 ประเด็นนี้ เพื่อทำให้งานใช้งานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งมีเรื่องใดบ้างมาติดตามกันได้เลย
1. วิธีการต่อแผงโซล่าเซลล์แบบขนาน
การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ มีรูปแบบการเชื่อมต่อในลักษณะการนำขั้วเดียวกันมาเชื่อมเข้าด้วยกัน โดยการนำขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก ส่วนขั้วลบก็เชื่อมต่อเข้ากับขั้วลบ โดยเป้าหมายของการต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในรูปแบบขนานนั้น จะต้องการให้มีกระแสไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้ายังคงมีเท่าเดิม ซึ่งการพิจารณาจะใช้รูปแบบการต่อแผงในลักษณะใดนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้งานว่าต้องการกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันมากน้อยเพียงใดประกอบกันด้วย
2. ความแตกต่างระหว่างการต่อแผงแบบขนานและแบบอนุกรม
หากท่านที่สนใจจะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ยังสงสัยว่าการเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์แบบขนาน และอนุกรมมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น มาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมว่ามันมีจุดแตกต่างกันอย่างไร โดยจุดสำคัญที่สามารถชี้ให้เห็นสิ่งที่ไม่เหมือนกันมีอยู่ด้วยกัน 2 จุด จุดแรกคือเทคนิคในการเชื่อมต่อ สำหรับแบบอนุกรมจะใช้ขั้วที่ต่างกันมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เช่น ขั้วบวกของแผงโซล่าเซลล์แผงหนึ่งมาต่อเข้ากับขั้วลบของแผงโซล่าเซลล์อีกแผงหนึ่งส่วน การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ นั้น จะใช้ขั้วเดียวกันมาต่อเข้าด้วยกันดังที่กล่าวไปแล้ว ส่วนจุดที่ 2 ที่แตกต่างกัน คือผลลัพธ์ที่ได้ แบบขนานจะช่วยเพิ่มกระแสไฟฟ้า แต่รักษาแรงดันให้คงที่ ส่วนแบบอนุกรมจะช่วยเพิ่มแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น ในขณะที่กระแสไฟฟ้าที่ได้จะเท่าเดิม
3. สิ่งที่ควรระวังในการต่อแผงโซล่าเซลล์แบบต่าง ๆ
สำหรับการเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ทั้งแบบขนาน และแบบอนุกรมนั้น สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็คือ ชุดอุปกรณ์ที่เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งแบตเตอรี่และชุดควบคุมการประจุไฟฟ้า หรือ Solar Charger โดยหากเป็นการเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ในรูปแบบนี้ จำเป็นต้องต่อแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้ได้แรงดันที่ใกล้เคียงกับเครื่องควบคุมการชาร์ต เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแบตเตอรี่ที่ใช้ประจุไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ทนนาน ส่วนการต่อแผงโซล่าเซลล์แบบอนุกรมมีข้อที่ควรพึงระวัง ก็คือ การป้องกันไม่ใช้มีเงาจากสิ่งต่าง ๆ ไปบดบังเซลล์แสงอาทิตย์เซลล์ใดเซลล์หนึ่งซึ่งอาจจะทำให้แผงนั้นหยุดการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าลดลง และหากมีการบดบังเป็นเวลานาน ก็อาจจะทำให้ความร้อนสะสม เนื่องจากระบบการหมุนเวียนไฟฟ้าทำได้ไม่สะดวก อาจจะทำให้เกิดแผงไฟไหม้ได้
4. การผสมผสานทั้งแบบอนุกรมและขนานเข้าด้วยกัน เพื่อรักษาข้อดี และกลบข้อด้อย
อีกหนึ่งทางเลือกที่จะเป็นตัวช่วยสนับสนุนให้ระบบการผลิตไฟฟ้ามีการทำงานที่ราบรื่น และได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ามากขึ้นก็คือการ เชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์แบบผสมทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถเพิ่มแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นตามความต้องการ เป็นการปิดข้อด้อย การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ และการต่อแบบอนุกรม นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาระบบผลิตไฟฟ้าหยุดทำงานจากการมีสิ่งต่าง ๆ มาบดบังรัศมีจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย
โดยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการติดตั้งและเชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็น การต่อขนานแผงโซล่าเซลล์ หรือการเชื่อมต่อแบบอนุกรม และแบบผสม สิ่งที่ควรใส่ใจก็คือการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ชนิดเดียวกัน มีขนาดกำลังวัตต์และโวลล์ที่เหมือนกัน เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ง่าย ไม่เกิดการกระชากจากความไม่สมดุลของชนิดและขนาดของแผง สำหรับท่านใดที่มีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานเองที่บ้าน หรือหน่วยงาน สามารถขอคำปรึกษาจากบริษัทที่เชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

