5 เงื่อนไขพื้นฐานที่ต้องเข้าใจ ก่อนคิดจะ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งานนั้น นอกจากจะได้รับประโยชน์ในแง่ของการมี ไฟฟ้าต้นทุนต่ำ ไว้ใช้งานแบบฟรี ๆ แล้ว พลังงานส่วนที่เหลือจากการใช้งาน ยังสามารถนำมาขายคืนให้แก่การไฟฟ้า เพื่อสร้างรายได้กลับคืนมาได้อีกทอด ซึ่งวิธีการสร้างเงินจากการ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ นั้น ผู้ที่ต้องการหรือสนใจติดตั้ง ควรมีการทำความเข้าใจเงื่อนไขพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นและมีส่วนสนับสนุนให้สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายสายไฟฟ้าเข้ากับระบบของภาครัฐ รวมไปถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้โครงการสนับสนุนด้านการผลิตไฟฟ้าภาคประชาชน ซึ่งเราอยากชวนมาเรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อจะได้วางแผนให้รอบคอบก่อนคิดจะขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
1. โซล่าเซลล์ภาคประชาชน รับขายไฟฟ้าคืนเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
เนื่องด้วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีอัตราการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยอาจจะไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต จึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดการผลิตไฟฟ้าทางเลือก อย่างการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะในภาคครัวเรือน ที่เป็นบ้านพักอาศัย โดยในหลายปีที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้มีการริเริ่มโครงการ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ คืนกลับแก่การไฟฟ้า เพื่อนำกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้ และใช้ไม่หมด นำมาสร้างประโยชน์ต่อ ด้วยการนำเข้าสู่ระบบสายส่ง และกระจายให้แก่ผู้บริโภครายอื่น ๆ ต่อไป
2. ขายไฟฟ้าคืนได้กับ 2 หน่วยงาน การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สำหรับการ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ คืนเข้าสู่ระบบนั้น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบผู้ประสงค์จะขายไฟฟ้าคืน ซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะรับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ โดยผู้ที่สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ทางโครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชนได้มีการระบุไว้ จึงจะสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ได้
3. ระยะเวลาในการขายคืน 10 ปี
การใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้แผงโซล่าเซลล์ จะมีอายุการใช้งานราว 25 – 30 ปี ซึ่งถือว่าจะสร้างประโยชน์แก่ผู้ติดตั้งในระยะยาว ส่วนในการ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ คืนแก่หน่วยงานของรัฐนั้น ได้กำหนดระยะเวลาไว้ที่ 10 ปี โดยในอนาคตหากมีการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของระบบโซล่าเซลล์ให้ดียิ่งขึ้น ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าจะมีการทบทวนเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้ให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงต่อไป ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวก็จะทำให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย สามารถมีรายได้กลับคืนมาอย่างต่อเนื่อง
4. ได้รับเงินขายไฟฟ้าหน่วยละ 2.20 บาท
สำหรับในปี 2565 นี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้มีปรับอัตราการรับซื้อคืนไฟฟ้าผ่านโครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน จากเดิมซึ่งมีการรับซื้อในราคาหน่วยละ 1.68 บาท ต่อหน่วย มาเป็น 2.20 บาทต่อหน่วย โดยมีเป้าหมายปีละ 10 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 5 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 5 เมกะวัตต์ ซึ่งแม้ว่าหลายท่านอาจจะคิดว่ามีราคาที่ถูกกว่าไฟฟ้าที่ขายให้แก่ประชาชน แต่หากมองในแง่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง และยังสามารถนำไฟฟ้าส่วนเกิน ซึ่งหากไม่ได้นำไปขาย ก็จะถูกทิ้ง ไม่ได้มีประโยชน์อะไร เนื่องจากไม่มีแหล่งจัดเก็บ
5. ต้องมีการขออนุญาตและดำเนินการถูกต้องตามเงื่อนไขที่หน่วยงานกำหนด
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน เพื่อ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ นั้น จำเป็นต้องมีการสมัครเข้าร่วมโครงการ และขออนุญาตในการดำเนินการติดตั้งตามระบบ ทั้งในด้านการนำเสนอแบบแปลนการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งการทดสอบระบบ และเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า และดำเนินการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้ถูกต้อง
ท่านที่สนใจในพลังงานไฟฟ้าทางเลือกจากพลังงานแสงอาทิตย์ คงมีความเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า ถ้าจะ ขายไฟฟ้าโซล่าเซลล์ จะต้องทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านใดบ้าง เพื่อให้มีไฟฟ้าไว้ใช้เองแบบต้นทุนราคาถูก และยังสามารถสร้างรายได้กลับคืนแก่ผู้ติดตั้งด้วย โดยหากผู้เป็นเจ้าของบ้านพักอาศัยท่านใด ที่มีความสนใจ ต้องการขอคำปรึกษาหรือขอคำแนะนำ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น เรายินดีพร้อมให้บริการ ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ในการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มากว่า 20 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

