ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน กับ 4 แนวทางการจัดการขยะอิเลคทรอนิกส์ ที่ควรรู้

ในยุคที่ไฟฟ้ากลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อชีวิต การผลิตไฟฟ้าสำรองไว้ใช้งานภายในบ้านหรือหน่วยงานของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยหลาย ๆ สถานที่ซึ่งเริ่มมีการนำร่อง ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ซึ่งเป็นอีกทางออกในการสกัดปัญหาค่าไฟแพงที่กำลังเผชิญ และมีแนวโน้นราคาจะขยับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนที่ทะยานไม่หยุด โดยแผงโซล่าเซลล์จะมีอายุการใช้งานยาวนานพอสมควร ในระยะเวลา 25 – 30 ปี ซึ่งมากเพียงพอที่จะสร้างความคุ้มทุนในการติดตั้ง โดยหลังจากสิ้นสุดอายุการผลิตไฟฟ้าแล้ว แผงโซล่าเซลล์ซึ่งจะกลายเป็นขยะ จะมีวิธีจัดการอย่างไร คงเป็นคำตอบที่ผู้สนใจติดตั้งสงสัย เพื่อเป็นการเตรียมตัวและทำความเข้าใจล่วงหน้า มาเรียนรู้กันว่าจะกำจัดขยะอิเลคทรอนิกส์เหล่านี้อย่างไร ที่ปลอดภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม
1. ลงทุนจัดตั้งโรงงานจัดการแผงโซล่าเซลล์ เพื่อซ่อมแซมให้กลับมาใช้ใหม่ได้
ประเทศไทยของเราเริ่มมีการ ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน เพื่อผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ราวปี 2545 ซึ่งเมื่อนำอายุการใช้งานแล้วจะเสื่อมสภาพราว ปี 2570 ซึ่งในระหว่างนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการลงทุนจัดตั้งโรงงานเพื่อเข้ามาทำหน้าที่จัดการขยะอิเลคทรอนิกส์ที่มาจากแผงโซล่าเซลล์ โดยมีการวางแนวทางด้วยการรับแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุกลับมาซ่อมแซม โดยอาจจะทำการเปลี่ยนแปลงวัสดุชิ้นส่วนบางชนิด เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดขยะพิษที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณลดลง
2. นำส่วนที่สามารถรีไซเคิลได้ นำไปผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นทดแทน
สำหรับขยะที่เกิดมาจากการ ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ซึ่งผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่สามารถนำมาซ่อมแซมแก้ไขให้นำกลับมาใช้ได้อีกต่อไป ก็จะมีการนำเข้าสู่กระบวนการแยกชิ้นส่วน โดยเฉพาะการสกัดนำแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในแผงโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็น ซิลิกอน เงิน ดีบุก นำกลับไปเข้ากระบวนการเพื่อผลิตเป็นสินค้ารูปแบบอื่น ๆ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยสร้างแหล่งรายได้ใหม่จากผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพแล้ว
3. ส่งไปจัดการนอกประเทศ
หากประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการเตรียมการด้านเทคโนโลยีในการกำจัดขยะอิเลคทรอนิกส์ซึ่งเกิดจากแผงโซล่าเซลล์มากพอ ก็อาจจะมีความจำเป็นต้องส่งขยะเหล่านี้ ออกไปกำจัดอย่างถูกต้อง และปลอดภัย ยังประเทศที่มีวิธีการที่มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพสูงเพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากการ ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ล้นเมือง จนส่งผลให้เกิดมลพิษ หรือมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายและงบประมาณจำนวนมากในการดำเนินการก็ตาม
4. จัดการฝังกลบตามหลักกฏหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
อีกหนึ่งทางเลือกสุดท้ายที่หากไม่สามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ได้ทัน ก็คือ การจัดการฝังกลบส่วนที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้แล้ว ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม ซึ่งต้องดำเนินการอย่างสอดคล้องต่อกฏหมายว่าด้วยการกำจัดขยะอันตราย หรือใช้วิธีการเผาด้วยเตากำจัดขยะอันตรายโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาที่สืบเนื่องมาจากการ ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ได้ แม้ว่าจะไม่ดีมากนัก
แม้ว่าการ ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน จะสร้างคุณค่าในการด้านการนำพลังงานสะอาดที่มีอยู่ทั่วไปทุกพื้นที่มาผลิตเป็นไฟฟ้า ซึ่งช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และทำให้บ้านเรือน ชุมชน หน่วยงานมีไฟฟ้าใช้งานอย่างเพียงพอ แต่ในอนาคตที่แผงโซล่าเซลล์จะเสื่อมสภาพก็จำเป็นต้องมีแผงรองรับในการกำจัดและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องร่วมมือช่วยกันดูแล โดยผู้ที่สนใจต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้งาน หากมีข้อสงสัย ต้องการที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญ มีความรู้เฉพาะทาง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น เรายินดีพร้อมเป็นที่ปรึกษา และให้บริการด้านโซล่าเซลล์แบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่
www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

