ประเภทการทำงานของหลังคาโซลาร์เซลล์

Nung Pr • 5 พฤศจิกายน 2564

หลังคาโซลาร์เซลล์ แบ่งการติดตั้งเป็นกี่ประเภท วันนี้หมอโซลาร์มีคำตอบครับ

หลังจากที่หมอโซลาร์ ได้นำเสนอเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกกันว่า โซลาร์รูฟท็อป ก็มีหลายท่านทักมาสอบถามกันเยอะ แล้วมีอยู่คำนึงที่หมอโซลาร์ค่อนข้างชอบ ที่ลูกค้าเรียกโซลาร์รูฟท็อปว่า“หลังคาโซลาร์เซลล์” ดังนั้น ในบทความนี้จะขอใช้คำนี้พูดถึงระบบนี้กันนะครับ

วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่ดีที่สุด คือการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เองในบ้านเรือน ในบริษัท หรือแม้แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ซึ่งสำหรับบ้านคน ยังมีโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ที่ไฟส่วนที่เหลือ สามารถขายคืนให้การไฟฟ้าได้ เป็นผลพลอยได้ที่ทำให้เจ้าของบ้านได้อีกด้วย 

แต่หากอ่านข้อมูลเยอะ ๆ จะเห็นว่า หลังคาโซลาร์เซลล์ ที่นิยมติดตั้งในปัจจุบัน ไม่ได้มีแค่ประเภทเดียวนะครับ แต่มีถึง 3 ประเภทด้วยกัน 


ประเภทการทำงานของหลังคาโซล่าเซลล์ มีดังต่อไปนี้

ปัจจุบันนี้การติดตั้งโซล่าเซลล์ที่นิยมติดตั้งกันทั่วโมลกมีอยู่ด้วยกัน 3 ระบบ คือ ระบบออนกริด , ระบบออฟกริด และระบบไฮบริด แต่ละประเภทคืออะไร และทำงานอย่างไร หมอโซลาร์ จะเล่าให้ฟังนะครับ

1. หลังคาโซลาร์เซลล์แบบออนกริด

ระบบออนกริด เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ท่านสามารถใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้ด้วย และใช้ไฟฟ้าจากที่ท่านผลิตจากแผงโซล่าเซลล์มาไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้อีก เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าในเวลาตอนกลางวัน ระบบนี้ไม่มีแบตเตอรี่ โดยจะใช้ไฟได้ทันทีที่ผลิตจากแผง ซึ่งจะต้องพึ่งพาสายส่งของพี่ ๆ การไฟฟ้าให้เป็นประโยชน์ด้วย เพราะระบบนี้ จะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์มาใช้งานก่อน หากไม่พอก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ร่วมด้วย ในขณะเดียวกัน ส่วนที่เหลือ ก็ขายคืนการไฟฟ้าไป (หากเป็นบ้านพักอาศัย และเป็นบิลค่าไฟประเภท 1 และเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ดังนั้น ระบบนี้ จึงต้องขออนุญาตในการติดตั้ง ซึ่งต้องติดต่อหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า,คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือแม้แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่มเติม (อ.1) ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้ หมอโซลาร์จะชี้แจงแถลงไข ให้ฟังเพิ่มเติมในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ เพราะว่าเราจะต้องคุยกันยาวเลย เอาเป็นว่าหมอโซลาร์สรุปให้ฟัง ง่าย ๆ ว่า ระบบออนกริดเป็นที่นิยมอย่างมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เพราะคืนทุนเร็วที่สุด ต้นทุนการติดตั้งถูกกว่าประเภทการทำงานของหลังคาโซล่าเซลล์แบบอื่น ๆ เพราะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

2.หลังคาโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด

 เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไม่ต้องทำการขออนุญาตการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จากการไฟฟ้า เหมาะสมสำหรับสถานที่การไฟฟ้าทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง ๆ เป็นต้น โดยระบบนี้จะต้องมีแบตเตอรี่ในการกักเก็บพลังงาน และดึงมาใช้ในช่วงเวลาที่ไฟจากหลังคาโซลาร์เซลล์ ส่งมาได้ไม่เพียงพอ

3. หลังคาโซลาร์เซลล์แบบไฮบริด

ระบบไฮบริด เป็นส่วนผสมทั้ง 2 ระบบระหว่างระบบออนกริดและระบบออฟกริดเข้าด้วยกันเกิดเป็นระบบไฮบริดขึ้นมา คือ มีการไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นมาจากแผงโซล่าเซลล์ และไฟจากแบตเตอรี่ ถ้าแผงโซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าการใช้งาน แบตเตอรี่ของระบบไฮบริดก็จะเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ให้ และสามารถดึงกระแสไฟฟ้ามาใช้งานในเวลากลางคืนได้ แต่อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่าเวลานี้ แบตเตอรี่ยังมีราคาแพง ระบบไฮบริดจึงเหมาะกับบ้าน หรือสำนักงาน ที่ต้องการระบบไฟสำรอง ในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าดับ ระบบจะสามารถดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งานแทนได้ด้วย ซึ่งหากพูดกันตรง ๆ แล้ว ระบบนี้มันดีมากเลยนะครับ ถ้าไม่ติดเรื่องราคา ก็ถือว่าเป็นระบบไฟฟ้าที่ตอบโจทย์การทำงานแทบจะทุกอย่างเลย

ซึ่งการติดตั้งทั้ง 3 ประเภทของหลังคาโซล่าเซลล์ จะมีความแตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ดังนั้น จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของบ้าน หรือสำนักงานของเราเป็นหลัก

หากไม่รู้ว่าจะเลือกระบบไหนดี หรือยังตัดสินใจไม่ได้เพราะข้อมูลที่มีน้อยเกินไป ลองปรึกษาทีมงานหมอโซลาร์ดูสิครับ เรามี Solution ให้ท่านช่วยประเมิน การลงทุนในระบบไฟฟ้าให้เป็นหลังคาโซลาร์เซลล์ ของท่านได้แบบครบ จบในที่เดียว

เพื่อให้ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะอย่างที่บอก ระบบนี้จะอยู่บนหลังคาของท่านไปอย่างน้อย 25 ปี ต้องตัดสินใจให้ดี ก่อนลงทุน เพื่อให้ได้หลังคาโซลาร์เซลล์ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ให้มากที่สุดครับ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการยกหูคุยกับหมอโซลาร์โดยตรง ก็ติดต่อเรามาได้ตามช่องทางที่สะดวกได้เลยครับ


โทร : 082-628-2456

Line ID : @solarpowercreation หรือคลิกที่ Link นี้

Facebook : Solar Power Creation


หมอโซลาร์พร้อมให้คำแนะนำ แบบไม่มีกั๊ก ที่ครบ จบที่เดียวแน่นอนครับ


โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม