รวม 5 ปัญหา ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน ที่ผู้ติดตั้งใช้งานควรรู้และเข้าใจ

เป็นปกติธรรมดาที่ทุกการดำเนินการมักจะมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น มากบ้าง น้อยบ้าง รุนแรงหรือไม่หนักหนาปะปนกันไป การใช้งาน ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน ก็เช่นเดียวกัน หลังจากติดตั้งและไปใช้งานเรียบร้อย ก็อาจจะพบปัญหา หรือความบกพร่อง ผิดพลาดจากการทำงานของระบบเกิดขึ้นบ้างในบางครั้ง โดยหาพบสิ่งที่ส่งผลกระทบทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง หรือหยุดการทำงานไปเลย จะมีวิธีตรวจสอบ หรือแก้ไขอย่างไร มาเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้ง หรือผู้ที่ติดตั้งไว้ใช้งานเรียบร้อยแล้ว จะได้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ทำให้ระบบโซล่าเซลล์ไม่ได้รับความเสียหาย แก้ไขได้อย่างทันท่วงที
1. Grid Failure ระบบโซล่าเซลล์ในบ้านล้มเหลว ไฟหยุดการทำงาน
กรณีที่ ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน ตัดการทำงาน โดยไม่สามารถเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากระบบไฟฟ้าทำงานขัดข้อง หรือไม่ได้มีการเชื่อมต่อวงจรในฝั่งการผลิตไฟฟ้าแบบกระแสตรง หรือ AC ซึ่งในเบื้องต้นควรดำเนินการตรวจให้แน่ชัดว่า ไฟฟ้าแรงดันกระแสสลับมีการทำงานเป็นปกติ รวมไปถึงตรวจเช็คว่าได้มีการเปิดสวิตซ์เชื่อมต่อของสายไฟกระแสตรง หรือ AC ซึ่งหากทั้งสองส่วนนี้ทำงานปกติ ก็อาจจะจำเป็นต้องเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบเพิ่มเติม
2. Grid Undervoltage แรงดันไฟฟ้าตก
อีกหนึ่งปัญหาที่อยู่ในขั้นรุนแรงไม่แพ้กันก็คือปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงดันไฟฟ้าลดลงต่ำกว่าค่าที่ระบบได้มีการตั้งไว้ หรือมีระยะเวลานานเกินกว่ามาตรฐาน สำหรับแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน สามารถกลับมาทำงานได้เป็นปกติ ก็คือ หากมีการแจ้งเตือนความผิดพลาดดังกล่าว ควรมีการตรวจเช็คค่าแรงดันไฟฟ้า หากมีความผิดปกติ ควรมีการตั้งค่าใหม่ ให้สอดคล้องต่อระบบที่การไฟฟ้ากำหนด รวมทั้งตรวจสอบสวิตซ์การเชื่อมต่อของของสายไฟกระแสตรง ที่เชื่อมต่อกับอินเวอร์เตอร์ หากยังใช้งานไม่ได้ ควรแจ้งให้ช่างมาดำเนินการแก้ไขโดยทันที
3. Grid Overvoltage แรงดันไฟฟ้าสูงกว่าปกติ
นอกจากมีปัญหาแรงดันไฟฟ้าต่ำแล้ว ก็อาจจะเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าปกติได้เช่นเดียวกัน โดยมีสาเหตุการเกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน คือ แรงดันไฟฟ้าปรับตัวสูงกว่าค่าที่ระบบได้มีการตั้งไว้ หรือมีระยะเวลานานเกินกว่ามาตรฐาน โดยควรมีการตรวจสอบค่าแรงดันไฟฟ้า และสวิตซ์ชุดควบคุมต่าง ๆ ว่ามีการทำงานปกติหรือไม่ นอกจากนั้นควรมีการปรับตั้งค่าแรงดันไฟฟ้าให้สอดคล้องต่อมาตรฐานของการไฟฟ้า ซึ่งหาก ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน ยังไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ควรมีการติดต่อประสานงานบริษัทที่รับติดตั้งเข้ามาตรวจสอบ หรือช่างของการไฟฟ้าเข้ามาตรวจเช็คเพิ่มเติม
4. Unbalanced Voltage แรงดันไฟฟ้าเกิดความไม่สมดุล
ระดับแรงดันไฟฟ้าที่สมดุล เป็นสิ่งที่จะทำให้ ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน มีความเสถียร ใช้งานไม่ติดขัด แต่หากระบบแรงดันขาดความสมดุล ซึ่งมีสาเหตุมาจากความแตกต่างของแรงดันที่เกิดขึ้นระหว่างเฟส ซึ่งมีค่าเกินค่ามาตรฐาน โดยสามารถดำเนินการแก้ไขได้ ด้วยการตรวจเช็คระดับแรงดันของไฟฟ้าว่ามีค่าที่สอดคล้องกับระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์หรือไม่ และมีความผิดปกติตรงจุดไหน หากไม่สามารถดำเนินการแก้ไขด้วยตัวเองได้ ควรแจ้งให้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความกระทบเสียหายต่อระบบอื่น ๆ
5. Grid Over Frequency ความถี่ไฟฟ้าสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด
อีกหนึ่งค่าที่ทำให้เกิดความแปรปรวน ทำให้การทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์มีความผิดพลาดขึ้นได้ ก็คือ ความถี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากความถี่ที่เกิดขึ้นจริง มีอัตราสูงกว่าค่ามาตรฐานของการไฟฟ้า โดยหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ระบบอินเวอร์เตอร์ก็จะกลับมาทำงานทำงานอัตโนมัติหลังจากระบบไฟฟ้ากลับสู่สภาวะปกติ แต่หากระบบมีการแจ้งเตือนถี่ ๆ ตลอดเวลา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรแจ้งให้ช่างที่ดูแลระบบ เข้ามาดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ ระบบโซล่าเซลล์ในบ้าน ไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ปล่อยทิ้งไว้ เพราะบางปัญหาอาจจะลุกลามใหญ่โต กระทบไปยังอุปกรณ์ หรือการทำงานส่วนอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น ทางที่ดีควรเร่งตรวจสอบ หากไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ควรแจ้งให้ช่างผู้ที่ดูแลทราบและเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากต้องการผู้ที่ดูแลระบบอย่างมืออาชีพ สามารถติดต่อขอคำปรึกษาและใช้บริการได้กับ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

