รวม 5 เกณฑ์ มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ เสริมความปลอดภัย ใช้แล้วคุ้ม
ติดตั้งโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่า ด้วย 5 มาตรฐานโซล่าเซลล์ มาตรฐานสากลที่จะช่วยให้การใช้งานโซล่าเซลล์ของคุณคุ้มราคา และปลอดภัยในระยะยาว มีเรื่องไหนที่ต้องใส่ใจ และควรรู้ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ มาดูกันไปพร้อม ๆ ในเนื้อหาต่อไปนี้..

การติดตั้งเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์นั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน ที่ต้องสอดคล้องต่อเป้าหมายแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่คำนึงถึงไม่ได้ก็คือ เรื่องของความปลอดภัย ที่ต้องเป็นไปตาม มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ ซึ่งให้ความสำคัญต่อการติดตั้งระบบป้องกันต่าง ๆ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การเกิดอุบัติภัยต่าง ๆ ต่อตัวอาคารที่มีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นดาดฟ้า หรือหลังคา รวมไปถึงการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่งจะมีรายละเอียดเชิงลึกอย่างไร มาค้นหาคำตอบกันได้เลย
1. ติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown)
แม้ว่าเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้จะมีอุปกรณ์ป้องกันภัยภายในอาคารคอยทำหน้าที่ต่าง ๆ อยู่แล้ว แต่เพื่อเป็นการป้องกันผู้ที่เข้าปฏิบัติงานในการระงับเหตุจากการถูกกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่ยังคงมีการผลิตไฟฟ้าตราบใดที่ยังมีแสงอาทิตย์ แม้ว่าระบบอินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงานไปแล้ว ดังนั้น การติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน เพื่อมาเป็นอุปกรณ์ป้องกันลดแรงดันไฟฟ้า ที่จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่นักดับเพลิง ซึ่งเป็นไปตาม มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่มีกำหนดไว้ทั้งในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยเราด้วย

2. มีการตรวจสอบการลัดวงจรของอาร์ก
โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา สภาวิศวกรได้มีการกำหนดให้มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีการติดตั้งหลังจากนี้ ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจรของอาร์ก บนฝั่งการรับกระแสไฟฟ้ากระแสตรง จากชุดแปลงกระแสไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีการเปิดกลไกการทำงานภายในระยะเวลา 2.5 วินาที หลังจากมีการตรวจพบเหตุการณ์ ซึ่งถือเป็นการปกป้องปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ให้เกิดไฟไหม้ขึ้นได้
3. มีการจัดสรรบุคลากรที่มีความาสามารถอย่างเพียงพอในการให้บริการ
การทำงานกับระบบโซล่าให้ได้มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น มีความสลับซับซ้อนในกลไกการทำงาน ย่อมต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร ช่างไฟฟ้า หรือผู้ดูแลควบคุมการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งต้องมีผ่านการฝึกอบรมความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรมีใบรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันก่อนเข้าปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องต่อ มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ ตามระบบมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.

4. มีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริการที่เหมาะสม
นอกจากผู้ปฏิบัติงานจะมีความสำคัญต่อการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แล้ว อีกปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในมาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น ก็คือ การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องมือช่างต่าง ๆ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล รวมไปถึงอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการติดตั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นแผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ โซล่าชาร์จเจอร์ ก็ควรเป็นอุปกรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบ และได้รับการรับรองมาตรฐานจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือมายิ่งขึ้น
5. ต้องมีการปฏิบัติและดำเนินการให้สอดคล้องต่อกฏหมาย และข้อกำหนดของภาครัฐ
มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ในระบบออนกริด หรือที่ต้องมีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้า และการติดตั้งที่ต้องมีการดัดแปลงตัวอาคาร จำเป็นต้องมีการดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง เพื่อให้สอดคล้องต่อกฏหมาย และข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่ส่งผลกระทบหากมีการตรวจสอบขึ้นมาภายหลัง
การดำเนินการทุกขั้นตอนทั้งในด้านความปลอดภัย และด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานระบบโซล่าเซลล์ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ไม่เพียงเพื่อให้สอดคล้องต่อ มาตรฐานติดตั้งโซล่าเซลล์ เท่านั้น แต่เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดตามมา ทั้งหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมไปถึงการตรวจสอบ หากไม่ปฏิบัติตาม โดยผู้ที่ยังขาดความเข้าใจ แต่มีความสนใจที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากบริษัทที่มีเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

