แนะ 4 ส่วนประกอบ ระบบแผงโซล่าเซลล์ ที่ควรรู้ และตรวจสอบก่อนซื้อไว้ใช้งาน

ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์นับว่าได้รับความสนใจ และมีความนิยมนำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จากหลาย ๆ ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้สถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน สำนักงาน โรงงาน หรือแม้แต่ภาคธุรกิจเอกชน หันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้า แทนพลังงานจากซากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ที่เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ส่งผลให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การนำแสงแดดซึ่งมีอยู่ทั่วไป มีต้นทุนต่ำ และสามารถนำไปใช้งานได้ทุกพื้นที่จึงมีความคุ้มค่ามากกว่า โดยก่อนที่จะเริ่มต้นไปซื้อ ระบบแผงโซล่าเซลล์ มาติดตั้งและผลิตไฟฟ้าเป็นของตัวเอง มาทำความเข้าใจและเรียนรู้กันเบื้องต้นก่อนว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร เพื่อจะได้สังเกต และตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อมาใช้งาน
1. แผงโซล่าเซลล์ และแผ่นกระจกนิรภัยปกปิดด้านหน้า
หนึ่งในหัวใจหลักของ ระบบแผงโซล่าเซลล์ ก็ต้องยกให้กับแผ่นซิลิกอนที่เป็นตัวกลางในการนำแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยแผงแต่ละชนิดก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์จะมีสีเข้ม เป็นสีเหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่ ส่วนชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จะมีสีน้ำเงินไม่เข้มมาก เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ส่วนชนิดฟิล์มบาง ก็จะเป็นเหมือนแผ่นฟิล์มซึ่งสังเกตได้ง่าย โดยบนแผ่นโซล่าเซลล์ที่มีการซื้อขายกัน จะมีกระจกนิรภัยอีกชั้นที่ทำหน้าปกป้องแผ่นซิลิกอนภายในไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ซึ่งในการยกหรือเคลื่อนย้ายระหว่างการขนส่ง หรือช่วงติดตั้งควรมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตัวกระจกและแผงภายใน
2. กรอบอลูมิเนียมยึดแผงโซล่าเซลล์
สำหรับการยึดให้แผงโซล่าเซลล์ไม่เกิดการเคลื่อนตัว จึงต้องมีกรอบอลูมิเนียมมาค่อยช่วยทำหน้าที่ในด้านนี้ โดยจะปกป้องขอบด้านข้าง และรองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรุดตัว หรือโดนลม หรือวัสดุอื่น ๆ มากระแทก ทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีความมั่นคง แข็งแรง ต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ซึ่งได้ดำเนินการไปติดตั้ง นอกจากนั้นยังเป็นตัวช่วยในการยึดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับโครงสร้างขาตั้ง หากวางบนพื้น หรือหากติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าก็จะเป็นช่วยรองรับในการนำไปยึดติดกับโครงสร้างหลังคา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่มีความจำเป็นต่อ ระบบแผงโซล่าเซลล์
3. จุดรวมสายไฟเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์
หากพลิกมาดูด้านหลังของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งนอกจากจะมีวัสดุตัวช่วยในการรองรับน้ำหนักของแผงซิลิกอนและกระจกนิรภัยแล้ว ก็จะมีชุดรวมสายไฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องสีดำ หรือที่เรียกกันว่า “จังก์ชั่นบ๊อก” ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์รวมของสายไฟที่เป็นทั้งขั้วบวก และขั้วลบ ที่จะรับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์และนำไปสู่การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุดแปลงไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ ตัวควบคุมการชาร์ตหรือ Solar Charge Controller ต่อไปอีกทอด หากขาดชุดส่วนประกอบนี้ไป ระบบแผงโซล่าเซลล์ ก็ไม่สามารถใช้งานได้
4. ป้าย Label ระบุข้อมูลสเปคแผงโซล่าเซลล์
มาถึงส่วนสุดท้าย ที่จะเป็นจุดในการสื่อสารข้อมูล ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผงโซล่าเซลล์ชิ้นนั้น ๆ ซึ่งจะมีการนำเสนอข้อมูลขนาดวัตต์ (W) ขนาดโวลต์ (V) และแอมป์ (A) รวมไปถึงสเปคประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่ได้มีการตรวจสอบ และมาตรฐานต่าง ๆ ที่ได้มีการประเมินและให้การรับรอง เพื่อการันตีคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการซื้อสามารถอ่านรายละเอียดและตรวจสอบก่อนได้ว่าตรงตามชนิดที่ต้องการหรือไม่
ระบบแผงโซล่าเซลล์ นั้นมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ซื้อไปใช้งาน สามารถสังเกตด้วยตา และตรวจสอบสัมผัสได้ เพื่อให้มั่นใจว่าแผงเซลล์แสงออาทิตย์ที่จะซื้อหรือซื้อมาแล้วนั้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพสอดคล้องต่อความต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ สำหรับผู้ที่ยังมีข้อสงสัยหรือต้องการขอคำปรึกษาในเชิงลึกสำหรับการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น เรายินดีพร้อมให้บริการ ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ในการออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์มากว่า 20 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

