สรุป 5 เทคนิคคำนวณชุดอุปกรณ์ ก่อนออกแบบวงจรโซล่าเซลล์

Nung Pr • 16 มีนาคม 2566
วงจรโซล่าเซลล์

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นสำหรับบ้านพักอาศัย ภายในหน่วยงาน บริษัท หรือโรงงาน ก่อนที่จะดำเนินการพิจารณาตัดสินใจ ควรมาเรียนรู้และทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่า สำหรับการออกแบบ วงจรโซล่าเซลล์ เพื่อให้เหมาะสม มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ และสอดคล้องต่อรูปแบบการใช้งานของท่านนั้น จำเป็นต้องมีการคำนวณเพื่อหาค่าต่าง ๆ ในการพิจารณาเลือกชุดอุปกรณ์ที่มีปริมาณ จำนวน และความสามารถเพียงพอ เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าอะไรบ้างนั้น มาเรียนรู้ และค้นหาคำตอบ เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจของทุกคนไปด้วยกันเลย

1. คำนวณหาค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในสถานที่ (Load)

สิ่งแรกที่ถือเป็นจุดตั้งต้นของการวางแผนออกแบบ วงจรโซล่าเซลล์ ก็คือ การคำนวณหาค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีการใช้งานจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย สำนักงานของหน่วยงาน บริษัท หรือโรงงาน ว่ามีการเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดบ้าง จำนวนกี่เครื่อง ระยะเวลาการใช้งานในแต่ละวันจำนวนกี่ชั่วโมง โดยตรวจเช็คปริมาณอัตรากินไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์ โดยใช้สูตร Load =  จำนวนวัตต์ x จำนวนชั่วโมงการใช้งาน  แล้วจึงนำค่า Load จากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด มารวมกัน จึงกลายเป็นยอดรวมของปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในสถานที่นั้น ๆ 

2. คำนวณหาค่าขนาดแบตเตอรี่ที่จำเป็นต้องใช้ 

เพื่อให้ระบบไฟฟ้าสามารถจ่ายไฟ สำหรับการใช้งานได้ตลอด สถานที่ซึ่งทำการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้งาน ที่ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า จำเป็นต้องมีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง ในรูปแบบแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อมูลจำเป็นสำหรับการออกแบบ วงจรโซล่าเซลล์ โดยอาศัยข้อมูลอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ได้คำนวณไว้ มาคำนวณต่อ ซึ่งเพื่อให้แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้ยาวนาน จึงไม่ควรใช้ไฟฟ้าจดหมด 100 เปอร์เซนต์ อัตราเฉลี่ยควรอยู่ที่ 80 เปอร์เซนต์ จึงสามารถใช้สูตรคำนวณได้ อัตราค่าแบตเตอรี่ที่ต้องจัดเก็บ =  Load ÷ 80 %  จะได้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในหนึ่งวัน 

3. คำนวณหาค่าแผงโซล่าเซลล์

ทั้งนี้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีจำนวนมากเพียงพอต่อปริมาณการใช้งานในแต่ละวันของสถานที่นั้น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อคำนวณหาค่าปริมาณแผงที่ต้องมีการติดตั้ง สำหรับชุด วงจรโซล่าเซลล์ ซึ่งโดยปกติในแต่ละวันอัตราเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่แผงโซล่าเซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแสงแดดเพียงพอจะอยู่ที่ราว 3.5 -  4 ชั่วโมง ซึ่งสามารถนำค่าจำนวนไฟฟ้าที่จะทำการประจุสำรองไว้ในแบตเตอรี่มาหารด้วยจำนวนชั่วโมงค่าเฉลี่ยในการผลิตไฟฟ้า โดยใช้สูตร 

ค่าจำนวนแผงอัตราการผลิตไฟฟ้า = ความจุแบตเตอรี่ ÷ ชั่วโมงแสงอาทิตย์ 

4. คำนวณหาค่าอุปกรณ์ควบคุมการชาร์ต (Solar Charge Controller) 

ในการประจุไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ลงสู่แบตเตอรี่นั้น จำเป็นต้องมีชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่เกิดการลัดวงจร หรือประจุไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่แบตเตอรี่จะรับได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ชุด Solar Charge Controller จึงเป็นอุปกรณ์เสริมที่ต้องมีการดำเนินการติดตั้ง โดยใช้สูตรในการคำนวณ คือ นำจำนวนแผงอัตราการผลิตไฟฟ้า มาหารด้วย Volt ของระบบ 24 V ก็จะได้เป็นค่าชุดควบคุมการชาร์ตที่เป็นสเปคในการติดตั้ง 

5. คำนวณหาค่าชุดแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter)

เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จะเป็นกระแสตรงหรือ DC ซึ่งยังไม่สามารถนำมาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เป็นกระแสสลับได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ Inverter คอยทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้งาน โดยพิจารณาคำนวณจาก การนำจำนวนอัตราการกินไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด หรือวัตต์ของทุกชนิดเครื่องใช้ไฟฟ้ามารวมกัน ก็จะได้เป็นค่าสูงสุด ที่ชุดแปลงกระแสไฟฟ้าควรมีศักยภาพในการรองรับได้ 


แม้ว่าการคำนวณต่าง ๆ ดูจะเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้มีพื้นฐานด้านไฟฟ้ามาก่อน แต่นี่ไม่ใช่ปัญหา เพราะในการติดตั้งนั้น จำเป็นต้องมีการจ้างบริษัทผู้ให้บริการติดตั้งเข้ามาดูแลในส่วนงานบริการต่าง ๆ แบบครบวงจร จะคุ้มค่า และคลายความเครียด ไม่จำเป็นต้องมาดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งหามองหาที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง เราขอแนะนำ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการวางแผงติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม