สูตรคำนวนความคุ้มค่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชน
ติดโซลาร์ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน กี่ปี คืนทุน หมอโซลาร์มีคำตอบให้ครับ

หลังจากที่หมอโซลาร์ นำเสนอเรื่องโซลาร์ภาคประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง คำถามหนึ่งที่มีคนถามบ่อยมากที่สุดก็คือ โครงการนี้มันคุ้มค่า น่าลงทุนจริงเหรอ
เพราะถ้าเอาตัวเลขมาดูกันจริง ๆ จะเห็นได้ว่ายังมีความแตกต่างระหว่างไฟที่ซื้อกับไฟที่เราขายคืนการไฟฟ้าอยู่พอสมควร
หากใครที่เริ่มต้นอ่านจากตรงนี้ อยากรู้ความเป็นมาของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน สามารถคลิกไปอ่านย้อนหลังได้ในนี้เลยครับ
โครงการโซลาร์ภาคประชาชนคืออะไร
อยากเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนต้องทำอย่างไร
วีดีโอแนะนำโครงการโซลาร์ภาคประชาชน (ฉบับย่อยให้เข้าใจง่าย)
ไฟซื้อกับไปขาย ที่ยังต่างกัน ทำไมถึงลงทุนแล้วคุ้มค่า

อย่างที่เรารู้กันนะครับปัจจุบันเราใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่หน่วยละ 3 - 4 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟ ยิ่งใช้ไฟเยอะ ก็ยิ่งแพง เนื่องจากเราเสียค่าไฟในอัตราการก้าวหน้า
แต่ในขณะที่โครงการโซลาร์ภาคประชาชน รับซื้อไฟส่วนที่ผลิตการจากระบบโซลาร์ เพียงหน่วยละ 2.2 บาท ซึ่งหากเทียบกับค่าไฟเฉลี่ยแล้ว ราคาต่างจากไฟที่ซื้อถึง 1.2 - 2.3 บาทเลยทีเดียว
แล้วโครงการนี้จะคุ้มค่าได้อย่างไร วันนี้หมอโซลาร์เลยมีสูตรมาให้คำนวณกันนะครับ
สูตรคำนวณความคุ้มค่า ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
สูตรคำนวณนี้ ใช้คำนวณจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละคนนะครับ ซึ่งก่อนจะไปถึงสูตรเราต้องเข้าใจเรื่องการผลิตไฟของระบบโซลาร์กันก่อนนะครับ
เพราะระบบโซลาร์รูฟท็อป เริ่มผลิตไฟตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้นช่วงเวลาที่เรานำมาคำนวณเรื่องการผลิตไฟ จะเป็นช่วงเวลากลางวันเป็นหลัก
ดังนั้น หากได้เคยพูดคุยหรือสอบถามเรื่องการหาจุดคุ้มค่าในการติดตั้ง คำถามแรกที่จะได้ยินกันเสมอ คือ “เรามีการใช้ไฟกลางวันเยอะหรือไม่”
เพราะหากเราผลิตเอง ใช้เอง เราสามารถประหยัดค่าไฟได้ 3-4.5 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราการจ่ายค่าไฟฟ้าของแต่ละคน) เพราะแทนที่เราจะใช้ไฟจากการไฟฟ้า เราก็ได้ใช้ไฟจากระบบโซลาร์เซลล์แทน
ดังนั้นสูตรที่ใช้คำนวณนี้ หมอโซลาร์จะใช้ ชุด 5 กิโลวัตต์ มาทดลองคำนวณให้นะครับ

โดยค่าเฉลี่ยของการผลิตไฟฟ้าของชุด 5 กิโลวัตต์ จะอยู่ที่ 600-750 หน่วยต่อเดือน ถ้าเราเอาค่ากลาง ๆ คือ 700 หน่วยมาเป็นตัวคำนวณ ดูนะครับ
กรณีแรก คือเราใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน มากกว่าที่ผลิตได้ (เช่นเปิดแอร์กลางวัน 2-3 ตัว)
เมื่อผลิตได้ 700 หน่วย แล้วเราใช้หมดทั้ง 700 หน่วย ดังนั้น เราจะประหยัดค่าไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ เดือนละ 700 x 4.5 = 3,145 บาทต่อเดือน
แต่หากเราใช้ไฟ้เพียง 50 เปอร์เซนต์ของที่ผลิตได้
เราจะประหยัดไฟจากการไฟฟ้า 350 x 4.5 = 1,575 บาท
ส่วนที่ขายไฟคืนการไฟฟ้า 350 x 2.2 = 770 บาท
เราจะประหยัดไฟได้เดือนละ 1,575+770 =
ในขณะเดียวกัน หากไม่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันเลย
ไฟที่ผลิตได้ขายคืนทั้งหมด เราจะได้เงินจากระบบโซลาร์เซลล์ 700 x 2.2 = 1,540 บาท
ดังนั้นหากเราเอาราคาติดตั้งที่ 195,000 มาคำนวณ จะพบว่าจุดคุ้มทุน จะแปรผันตามพฤติกรรมการใช้ไฟ
หากใช้ไฟเอาทั้งหมด จะคุ้มทุนใน 195,000/3,145 = 62 เดือน หรือประมาณ 5 ปี
แต่ถ้าใช้ไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์ 50 เปอร์เซนต์ จะคุ้มทุนใน 195,000/2,345 = 83 เดือน หรือประมาณ 6.9 ปี
แต่ถ้าเน้นติดตั้งเพื่อขายอย่างเดียว จะคุ้มทุนใน 195,000/1,540 = 126 เดือน หรือประมาณ 10.5 ปี
เห็นตัวเลขแบบนี้แล้ว อาจจะพอมองเห็นภาพมากขึ้นนะครับ
บทสรุปความคุ้มค่าของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
อายุการใช้งานของระบบโซลาร์เซลล์ เฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ปี
จากสูตรด้านบนจะเห็นว่า ยิ่งใช้ไฟกลางวันมากเท่าไหร่ จุดคุ้มทุนก็จะเร็วขึ้น
ซึ่งหากระยะเวลาอยู่ที่ 5-7 ปี เป็นจุดที่ดีที่สุดของการลงทุนในเวลานี้แล้วครับ
แต่หากระยะเวลาในการลงทุน เกิน 10 ปี อันนี้หมอโซลาร์อาจต้องแนะนำให้กลับไปพิจารณาให้ดีอีกที
เพราะหากคำนวณความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์ อันนี้อาจจะไม่คุ้มเท่าไหร่
หรือถ้าจะพูดกันภาษาบ้าน ๆ ว่า เอาเงินที่มีไปลงทุนอย่างอื่น อาจจะคุ้มกว่า
อีกอย่าง โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ก็มีระยะเวลาทำสัญญาขายไฟกับการไฟฟ้าเพียง 10 ปีเท่านั้น
ดังนั้น หากวันนี้เราใช้ไฟกลางวันเยอะอยู่แล้ว หรือมีแผนการใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันเพิ่มขึ้น เช่นเปิดแอร์ให้คุณพ่อ คุณแม่ที่อยู่บ้าน ได้ใช้ชีวิตสบายขึ้น หรือใช้ไฟ เพื่อการลงทุนกับเหมืองขุดบิทคอยน์ หรือแม้กระทั่ง การวางแผนซื้อรถไฟฟ้า ที่สามารถมาชาร์จตอนกลางวันได้ ทั้งหมดนี้ คือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนทั้งหมดครับ
ความจริงแล้วรายละเอียดของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ยังมีอีกหลายแง่มุมนะครับ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการยกหูคุยกับหมอโซลาร์โดยตรง ก็ติดต่อเรามาได้ตามช่องทางที่สะดวกได้เลยครับ
โทร : 082-628-2456
Line ID : @solarpowercreation หรือคลิกที่ Link นี้
Facebook : Solar Power Creation
หมอโซลาร์พร้อมให้คำแนะนำ แบบไม่มีกั๊ก ที่ครบ จบที่เดียวแน่นอนครับ

