5 ข้อควรระวัง ติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ อย่างไร ให้ไร้ปัญหา

ค่าไฟแพง เป็นปัญหาที่หลาย ๆ บ้าน หรือหน่วยงาน บริษัท ต้องเจอ เพราะถือเป็นหนึ่งค่าใช้จ่ายหลัก ที่ต้องใช้ หนึ่งในทางออกสำหรับผู้ต้องการประหยัดค่าไฟในระยะยาว ก็คือ การติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ซึ่งอาศัยแสงแดดมาเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ถือเป็นพลังงานสะอาด และต้นทุนต่ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลงทุน และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลตามที่มุ่งหวังตั้งใจ ผู้เป็นเจ้าของบ้าน หรือผู้บริหารหน่วยงาน บริษัท ต้องมีการตรวจสอบ และหลีกเลี่ยงข้อพึงระวังเหล่านี้ เพื่อจะได้มีไฟฟ้าฟรีใช้ไปนาน ๆ
1. ติดตั้งหลังคาบ้านโซล่าเซลล์ให้ถูกทิศ ได้องศาที่ดี ประสิทธิภาพคุ้มค่า ไม่ต้องมารื้อเปลี่ยนใหม่
ในการนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งนั้น หลายคนอาจจะเข้าใจไปเองว่า สามารถติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ทิศใดก็ได้ เพราะโดนแดดเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทิศที่เหมาะสมในการติดตั้ง ก็คือ ทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ ที่รับแดดบ่ายนานกว่า และเป็นแดดจัด ที่ให้พลังงานสูงในการนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า โดยจะต้องมีระดับความลาดเอียงของหลังคาที่ระดับ 15 – 20 % เพื่อทำมุมกับดวงอาทิตย์ในระยะที่เหมาะสมสูงสุด
2. เจาะ ยึด ติด หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ อย่างพิถีพิถัน ป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึม โครงสร้างพัง
อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระวังในการติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ก็คือ ช่วงเวลาของการดำเนินการประกอบแผงเข้ากับโครงสร้างหลังคา ที่ต้องมีการเจาะ ตัดกระเบื้อง และประกอบแผงเข้ากับโครงสร้าง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบให้ดีว่ากระเบื้องหลังคาแนบสนิท ไม่มีรอยเหลื่อม ที่อาจจะทำให้เกิดรอยรั่วซึมเมื่อมีฝนตก หรือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ โดยไม่ได้มีการสำรวจความมั่นคงของโครงสร้างหลังคา เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักแผงได้ ทำให้อาจจะเกิดการทรุดตัว พังทะลายลงมาได้ หากปล่อยไว้ในระยะยาว
3. ออกแบบแพลนหลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ให้ดูดี ติดตั้งให้เรียบร้อย เพื่อความสวยงาม
ปัจจัยด้านความสวยงาม ถือเป็นอีกสิ่งที่หลาย ๆ คนกังวลว่า ติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ ไปแล้ว พื้นที่หลังคาจะดูแปลกแยก ไม่เหมือนเดิม ทำให้ทัศนียภาพเปลี่ยนไป การออกแบบแพลนที่ดี เลือกชนิดของแผงโซล่าเซลล์ที่มีความสวยงาม และดำเนินการติดตั้งถูกต้องเรียบร้อยตามแบบ และแผนงานที่ได้วางไว้ ก็จะเป็นวิธีที่จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ออกไปได้
4. คำนวณแผงให้ลงตัว จะได้มีไฟใช้อย่างเพียงพอ
เป้าหมายในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ก็คือ การช่วยลดค่าไฟ หนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนี้ได้ ก็คือ แผงโซล่าเซลล์ที่ดำเนินการติดตั้ง จะต้องสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หรือหน่วยงาน บริษัท ซึ่งแน่นอนว่าต้องผ่านการสำรวจ คิดคำนวณอย่างดี ก่อนที่จะออกแบบระบบโซล่าเซลล์ เพราะการมาแก้ไขในภายหลัง อาจจะสร้างปัญหาและมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
5. เลือกบริษัทที่เชี่ยวชาญ ไม่ทิ้งงาน ใส่ใจดูแลตลอดอายุการใช้งาน
เนื่องจากการติดตั้งหลังคาบ้านโซล่าเซลล์ล์นั้น มีระยะเวลาในใช้งานที่ยาวนาน ราว 25 – 30 ปี หลังจากติดตั้งเสร็จจึงไม่ใช่การสิ้นสุดและจบงาน บริการหลังการขายของบริษัทที่รับออกแบบและติดตั้ง จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะระบบจะมีประสิทธิภาพใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่องได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยการดูแลบำรุงรักษา และซ่อมแซมแก้ไขในบางจุด ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางอย่าง เมื่อใช้งานผ่านไประยะหนึ่ง รวมไปถึงการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จากการเสื่อมของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจสอบอย่างส่ำเสมอ
ในทุกขั้นตอนและกระบวนการติดตั้ง หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ จะเป็นต้องมีการวางแผน ตรวจสอบที่ดีทั้งก่อนและหลังดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าสูงสุด โดยต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาคอยให้คำปรึกษาดูแล หากกำลังมองหาผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ แนะนำที่นี่เลย บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี พร้อมคลายทุกข้อสงสัย ให้บริการทุกคนดุจมิตร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

