สรุป 5 เรื่องชวนรู้ ขายไฟ กฟน. อย่างไร เพื่อให้มีไฟใช้ฟรี แถมมีรายได้
ขายไฟกฟน.อย่างไร คำถามที่ผู้สนใจจะใช้แหล่งพลังงานโซลาร์เซลล์กำลังตามหาคำตอบ เพราะนอกจากจะลดต้นทุนเรื่องค่าไฟ และยังช่วยลดรายได้ ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ 5 ขั้นตอนต่อไปนี้..

ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าได้ ไม่เพียงสามารถผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองแบบฟรี ๆ แต่ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มกลับมาได้ด้วย หากสามารถผลิตไฟฟ้าได้เกินกว่าปริมาณที่ใช้ สำหรับผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งอยู่ในเขตให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) สามารถติดต่อยื่นขออนุญาต ขายไฟ กฟน. ได้ หากคุณเป็นผู้ที่กำลังสนใจพลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ ที่ให้ความคุ้มค่าต่อการลงทุนในระยะยาว และต้องการมีไฟฟ้าใช้ ช่วยลดรายจ่าย แถมยังมีรายได้คืนมาด้วย มาเรียนรู้กันดีกว่าว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง
1. รายละเอียดและคุณสมบัติของผู้ที่สามารถยื่นของขายไฟฟ้า
ผู้ที่สนใจจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ และ ขายไฟ กฟน. ควรมาเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่าผู้ที่จะขายไฟ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งผู้ที่ขายไฟได้ต้องเป็นเจ้าของบ้านพักอาศัยประเภท 1 ที่มีการผลิตไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองเพื่อลดรายจ่ายค่าไฟ และส่วนที่ผลิตได้เกินปริมาณที่ใช้สามารถนำมาขายคืนให้แก่การไฟฟ้าได้ในราคาหน่วยละ 2.2 บาท ต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี
2. ขั้นตอนการยื่นขออนุญาต ขายไฟ กฟน.
สำหรับการดำเนินการในด้านการยื่นขออนุญาต ขายไฟ กฟน. นั้น ตั้งต้นจากการยื่นแบบขอขายไฟการไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบ ผ่านทางระบบออนไลน์ที่
https://spv.mea.or.th/help/register หลังจากนั้นรอให้แผนกบริการตรวจสอบแบบคำขอ และเอกสารประกอบ หลังจากนั้นจะมีการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ดำเนินการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เมื่อเสร็จสิ้น จะมีการลงนามเพื่อขายไฟร่วมกับ กฟน. และดำเนินการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบ

3. เอกสารประกอบการยื่นขอขายไฟ
สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการขออนุญาตขายไฟให้กับการไฟฟ้านครหลวงนั้น จะประกอบไปด้วย สำเนาบัตรประชาชน หากเป็นนิติบุคคลต้องมีหนังสือรับรอง นอกจากนั้นยังมีสำเนาเอกสารใบแจ้งหนี้ค่าไฟ เอกสารแสดงรายละเอียดของแผงโซล่าเซลล์ แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่ติดตั้ง แผนภูมิระบบไฟฟ้า สำเนาบัตรประจำตัววิศวกรผู้ดูแลงาน เอกสารแสดงรายละเอียดอินเวอร์เตอร์ รูปถ่ายบ้านที่มีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
4. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
เมื่อทางการไฟฟ้านครหลวงประกาศรายชื่อว่าผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ผ่านการอนุมัติให้ดำเนินการได้ ผู้ติดตั้งต้องดำเนินการชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเพื่อ ขายไฟ กฟน. ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 7,500 บาท และค่าทดสอบ ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอีกจำนวน 1,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 8,500 บาท ซึ่งราคาข้างต้นยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรวมจะเป็นยอดเงินทั้งสิ้น 9,095 บาท

5. ข้อกำหนดการเชื่อมต่อโครงขายไฟฟ้ากับ กฟน.
เมื่อมีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่จาก กฟน. เข้ามาดำเนินการตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้แจ้งไว้ในเอกสารขออนุญาตหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแผงโซล่าเซลล์ เครื่องแปลงไฟฟ้า หรืออินเวอเตอร์ ระบบป้องกันไฟไหลย้อน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆว่าเป็นไปตามมาตรฐาน และสอดคล้องต่อเกณฑ์ที่ทางการไฟฟ้านครหลวงกำหนดหรือไม่ หากเป็นไปตามที่กำหนด ก็จะกำหนดวันในการทำสัญญาลงนามซื้อขายไฟฟ้าต่อไป
5 เรื่องชวนรู้ที่นำมาแนะนำกันนี้ ถือเป็นรายละเอียดภาพรวมสำหรับผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งอยู่ในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวง หากต้องการ ขายไฟ กฟน. เพื่อให้ไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากวุ่นวายในการเตรียมเอกสาร และดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก เราขอแนะนำบริการแบบครบวงจรจากบริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทที่ปรึกษา และให้บริการออกแบบติดตั้ง ขออนุญาต และดูแลบำรุงรักษาแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

