4 เรื่องน่ารู้ กับ อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ และการกำจัดอย่างปลอดภัยเมื่อสิ้นอายุขัย
This is a subtitle for your new post

ท่ามกลางวิกฤติพลังงานไฟฟ้าที่กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากเชื้อเพลิงในการผลิตที่มีจำนวนน้อยลง และมีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ การนำพลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์มาใช้จึงได้รับความนิยมมากขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการประหยัดค่าไฟฟ้ารายเดือน และสร้างความคุ้มค่าในระยะยาว แต่ก็ยังคงมีความกังวลถึง อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ เพราะหากไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ก็อาจจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่ม และยังอาจจะแฝงมาด้วยปัญหาในการนำไปกำจัดทิ้งเมื้อสิ้นอายุขัย ซึ่งหากไม่วางแผนไว้อย่างรอบคอบ ก็อาจจะเป็นหนึ่งในหนทางที่จะเพิ่มขยะพิษให้กับโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นมาเรียนรู้กันดีกว่าว่า จะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรดี
1. อายุการใช้งานโดยทั่วไปของแผงโซล่าเซลล์
หนึ่งในตัวชี้วัดต่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ก็คือ อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ เพราะหากแผงมีความทนทาน ใช้งานได้นานหลายปี ก็ยิ่งสร้างประโยชน์แก่สถานที่ซึ่งได้ทำการติดตั้ง ซึ่งโดยทั่วไปมีการประเมินกันว่าแผงโซล่าเซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด 25 – 30 ปี โดยจะประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งจำเป็นต้องปลดระวาง และนำแผงใหม่เข้ามาใส่ทดแทน
2. ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการใช้งานและความทนทานของระบบโซล่าเซลล์
อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ นั้น มีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำให้แผงมีความทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนาน ทั้งในด้านคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตมาจากโรงงาน วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มากระทบหลังจากได้ติดตั้งและผ่านการใช้งานไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิความร้อน การดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาด ขจัดคราบสิ่งสกปรกอย่างสม่ำเสมอ มีการป้องกันไม่ให้แผงโดนกระแทกปลิวหลุดลอยจากพายุลมแรง ซึ่งจะถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้แผงโซล่าเซลล์ใช้งานได้ยาวนานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แนวทางการยืดอายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคหลังได้รับการออกแบบและพัฒนาให้มีความทันสมัย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะไปถึงจุดหมายที่มุ่งหวังนั้นได้ ก็ต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่สนับสนุนให้สามารถยืดอายุการใช้งานของแผงให้ยาวนานขึ้นได้ โดยต้องเริ่มต้นจากการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน มีความมั่นคงแข็งแรง มีการยึดแผงที่แน่นหนา ไม่หลุดลอย มีการติดตั้งที่ถูกทิศทาง ไม่มีสิ่งใดมาบดบังแสง รวมทั้งยังต้องอาศัยความใส่ใจในการดูแลทำความสะอาดคราบสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่เกาะยึดบนหน้าแผง และทำความสะอาดอย่างทนุถนอมไม่ทำให้แผงเกิดรอยถลอกเสียหาย นอกจากนั้นยังต้องตรวจเช็คสายเชื่อมต่อต่าง ๆ ให้ยังคงใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้แผงต้องทำงานหนัก สะสมพลังงานความร้อนมากเกินไป จนเกิดการระเบิดหรือเกิดเพลิงลุกไหม้ หากดูแลได้เป็นอย่างดี ก็มีโอกาสที่แผงโซล่าเซลล์จะสามารถใช้งานได้นานกกว่าที่มีการประเมิน
4. วิธีการในกำจัดแผงโซล่าเซลล์ที่สิ้นอายุขัย
เมื่อใช้งานแผงโซล่าเซลล์อย่างเต็มที่ คุ้มค่าแล้ว เมื่อสิ้นอายุขัยก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวใหม่มาแทนที่ โดยแผงเก่าก็ต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัย เพราะเป็นขยะอิเลคทรอนิกส์ที่สามารถก่อให้เกิดมลพิษต่อโลกได้ โดยการรื้อถอนแผงโซล่าเซลล์ออกจากโครงสร้าง แล้วนำแผงไปแยกส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อนำสิ่งที่มีประโยชน์และสามารถนำกลับไปใช้ในงานด้านอื่น ๆ ได้ อาทิ แก้วและอลูมิเนียม แผ่นซิลิกอน ซึ่งเมื่อนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล ก็จะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
เมื่อประชาชนทั้งในและต่างประเทศหันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากผลประโยชน์ด้านการลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิตและใช้ไฟฟ้าที่เราสนใจ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ อายุการใช้งานแผงโซล่าเซลล์ ที่ยิ่งพัฒนาให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น ก็จะทำให้สามารถยืดระยะเวลาที่จะสร้างขยะพิษแก่โลกได้ รวมทั้งเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว การพัฒนาแนวทางกำจัดที่ปลอดภัย สามารถนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน เพื่อให้โลกนี้ยังคงน่าอยู่ต่อไป โดยผู้ที่สนใจต้องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์ไว้ใช้งานในสถานที่ของตัวเอง แต่ยังไม่มีความรู้ มีข้อสัยที่ต้องการขอคำแนะนำ สามารถทักทายเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับบริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการออกแบบและติดตั้งดูแลรักษาระบบโซล่าเซลล์แบบครบวงจร ที่มีทีมงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

