4 เรื่องชวนทำความเข้าใจเลือก แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ ยังไง ให้ไร้ปัญหาตามมา

ในการติดตั้งแผงโซลาเซลล์เพื่อการใช้งานนั้น จำเป็นต้องมีโครงสร้างในการรองรับน้ำหนักแผง และยึดเกาะให้เหนียวแน่นป้องกันแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดนลมกระชากหลุดลอย สำหรับ แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์หรือในภาษาอังกฤษจะเรียกกันว่า Solar Mounting ที่จะนำมาใช้งานนั้น ผู้ที่สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงแดดหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า มีแบบใดบ้าง และแต่ละแบบเหมาะกับสถานที่ติดตั้งในลักษณะใด รวมทั้งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเติมอะไรบ้าง และมีมาตรฐานความปลอดภัยที่ควรใส่ใจและให้ความระมัดระวังในการติดตั้งบ้าง มาเรียนรู้และทำความเข้าใจ เพื่อที่จะทำให้ไม่เกิดปัญหาที่สร้างความรำคาญใจตามมากันได้เลย
1. ชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ในการทำขาตั้งแผงโซล่าเซลล์
แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ นั้นโดยทั่วไปมักจะทำจากอลูมิเนียม และเหล็กชุบกันสนิม ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสนิม สร้างความเสียหายต่อโครงสร้าง ทำให้สามารถใช้งานได้ทนในระยะยาว โดยชุดอุปกรณ์เหล่านี้จะได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้ง่าย และไม่ทำให้โครงสร้างหลัก ไม่ว่าจะเป็นหลังคา พื้นดาดฟ้า ฯลฯ ต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป ทั้งจากแผงโซล่าเซลล์ รวมไปถึงขาตั้งแผง รวมทั้งทำให้ประกอบขึ้นรูปได้ง่ายและรวดเร็ว ลดเวลาในการทำงานของช่าง
2. ประเภทการยึดแผงโซล่าเซลล์เข้ากับสถานที่ติดตั้งแบบต่าง ๆ
โดยปกติแล้ว สถานที่ซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มักจะเป็นหลังคาอาคาร บ้านเรือน หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นที่โล่ง ไม่มีสิ่งใดมาบดบังรัศมีจากแสงดวงอาทิตย์ โดยประเภทหลังคาจะมีด้วยกัน 3 แบบหลัก ๆ คือ หลังคาแบบเมทัลชีท หลักคา CPAC และหลังคากระเบื้องลอนคู่ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีแบบ Z Hook และแบบ STU โดยจำเป็นต้องเลือก แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ ให้มีความเหมาะสมกับหลังคาแต่ละประเภท นอกจากนั้นจำเป็นต้องมีการวัดระยะเพื่อมาร์คจุดติดตั้ง และนำโครงสร้างรองรับแผงขึ้นไปติดตั้งที่ได้ระยะพอดี รวมทั้งการขันน๊อตเพื่อยึดโครงสร้างเข้ากับหลังคา หรือการติดคลิปล็อคยึดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้แผงหลุด และทำให้โครงสร้างหลังคา หรือดาดฟ้าเสียหาย
3. อุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในการติดตั้งขาตั้งแผงโซล่าเซลล์
สำหรับชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ นั้นจะมีด้วยกันตั้งแต่ ราง หรือ Rail ซึ่งเป็นรางอลูมิเนียมไว้รองรับแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจำเป็นต้องมีความทนทาน น้ำหนักเบา สามารถต้านทางแรงลมได้ดี และยังทำให้ลดเวลาในการทำงาน เนื่องจากสามารถติดตั้งประกอบได้รวดเร็ว นอกจากนั้นจะมี L – Fleet ซึ่งทำให้ที่เป็นฐานในการยึดรางเข้ากับแปหลังคาอาคาร รวมไปถึง Roofing Screw เป็นน๊อตที่ช่วยยึดกระเบื้องหลังคาเข้ากับแปโครงสร้างอีกชั้น และมี End Clamp Assembly ซึ่งทำหน้าที่ในการยึดแผงโซล่าเซลล์แผงแรกและแผงสุดท้ายให้อยู่ในตำแหน่งเดิม ไม่เคลื่อนหรือขยับทำให้แผงอื่น ๆ ได้รับความเสียหายไปด้วย รวมทั้งต้องมี Ground Plate ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมแผงโซล่าเซลล์กับรางรองแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้สามารถติดตั้งสายดิน ป้องกันการเกิดเหตุฟ้าผ่า จะได้ไม่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อระบบผลิตไฟฟ้า
4. มาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งขาตั้งแผงโซล่าเซลล์
ในการติดตั้ง แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ นั้น หากตัวหลังคาไม่มีทางขึ้น ช่างผู้ติดตั้งจำเป็นต้องมีการก่อสร้างนั่งร้านชั่วคราวเพื่ออำนวยความสะดวกในการขึ้นไปปฏิบัติงาน นอกจากนั้นจำเป็นต้องมีการก่อสร้างบันไดบริเวณด้านข้างอาคารที่มั่นคงถาวร เพื่อใช้ประโยชน์ในการขึ้นไปดูแลตรวจสอบและบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์ และการเจาะหลังคาเพื่อยึดแผงโซล่าเซลล์กับโครงสร้างหลัก ต้องมีการวางแผนมาร์คจุดตามแบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ในการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในบริเวณต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคา ดาดฟ้า หรือพื้นราบ ก็จำเป็นต้องเลือก แบบขาตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่มีความเหมาะสม ทั้งตัววัสดุ รวมทั้งชุดอุปกรณ์ประกอบที่ต้องยึดเกาะกับโครงสร้างหลักได้อย่างมั่นคง และมีน้ำหนักที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดการพังทลายหากเกิดฝนตก พายุหนัก ก็ยังสามารถใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี โดยผู้สนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์แต่ยังมีคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

