5 เรื่องคลายความสงสัย แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ ตอบชัดเข้าใจจริง

Nung Pr • 19 เมษายน 2565

จะติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องรู้ก่อนว่า แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ จะได้เลือกใช้ถูกประเภท ในบทความนี้ Power Creation ได้นำประเภทของแผงโซล่าเซลล์มาแจกแจงให้ทุกท่านทราบแล้ว

แม้ว่าในทุกวันนี้จะมีการนำระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้มากขึ้น แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงไม่เข้าใจว่า แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ ซึ่งก่อนการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน หรือตามอาคาร โรงงานต่าง ๆ ก็จะเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ทำความเข้าใจให้รอบด้าน และเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมสอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมไปถึงการใช้งานของตนเอง รวมไปถึงคนในครอบครัว และหน่วยงาน ซึ่งการเริ่มต้นที่ดี ก็ต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่า แล้วทั่วไป แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอดในการเลือกนำมาใช้งาน รวมไปถึงการติดตั้ง และบำรุงรักษา ให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุน มาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันได้เลย 

1. แผงโซล่าเซลล์ 3 ชนิดหลัก ๆ ในตลาด

สำหรับคำตอบของคำถามที่ว่า ‘แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ’ นั้นรูปแบบการผลิตโซล่าเซลล์ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิด หลัก ๆ ซึ่งประกอบด้วย แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) ผลิตจากผลึกซิลิกอนเชิงเดี่ยว สังเกตง่าย ๆ ด้วยตา จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่ มีสีน้ำเงินเข้ม มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าแผงโซล่าเซลล์ประเภทอื่น ๆ ชนิดต่อมา เป็นแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) ผลิตจากผลึกซิลิกอนเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะต่างกัน หากมองดูจะเห็นเป็นเส้นสี่เหลี่ยม ไม่มีการตัดมุม มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ค่อนข้างดี แต่จะน้อยกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ ส่วนประเภทส่วนท้าย เป็นประเภทฟิล์มบาง หรืออะมอฟัสโซล่าเซลล์ โดยอาศัยการนำแผ่นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ามาฉาบไว้ด้านบน

2. การนำมาใช้งานในแบบต่าง ๆ

นอกจากผู้ที่สนใจจะต้องทราบว่า แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ แล้ว ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าแผงโซล่าเซลล์นั้น สามารถนำมาเชื่อมต่อใช้งานในรูปแบบใดได้บ้าง โดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบออนกริด ซึ่งเป็นการผสมผสานการใช้งานระหว่างไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และระบบสายส่งของการไฟฟ้า ส่วนประเภทต่อมาคือ แบบออฟกริด ซึ่งเน้นผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ส่วนประเภทส่วนท้ายคือ แบบไฮบริด ซึ่งเป็นการผสานทั้งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ การเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ และการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า แต่ในบ้านเรายังมีการใช้รูปแบบนี้ไม่เยอะเท่าที่ควร เนื่องจากต้องลงทุนสูง

3. การเลือกซื้อให้เหมาะสม

เพื่อให้สามารถเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ ผู้สนใจต้องรู้ก่อนว่าแผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ เพื่อจะได้แยกประเภทตามการใช้งานได้ถูกต้อง ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆในการพิจารณา เช่น การนำไปติดบนหลังคาบ้าน แผงชนิดโมโนคริสตัลไลน์ จะมีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพดีกว่า จึงเหมาะสมกับการนำไปใช้งานชนิดนี้ แต่ถ้าต้องการประหยัดงบ ควรหันมาเลือกใช้ประเภทโพลีคริสตัลไลน์ ซึ่งมีราคาถูกกว่า นอกจากนั้นควรพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต ซึ่งควรมีการรับประกันการใช้งาน และคำนึงถึงกำลังไฟฟ้าที่แผงผลิตได้ เพื่อติดตั้งแล้วจะสามารถใช้งานได้ตรงตามเป้าหมาย คุ้มค่าต่อการลงทุน 

4. การนำไปติดตั้ง

นอกจากคำถามที่ว่า แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ แล้ว คงมีหลายคนสงสัยต่อไปว่า แล้วจะนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งกันอย่างไร ในขั้นตอนของการติดตั้งนั้น จะเป็นในส่วนของการดำเนินการ หลังจากที่มีการสำรวจพื้นที่ ออกแบบระบบให้สอดคล้องต่อเป้าหมายของการใช้งาน การพิจารณาเลือกชนิดแผง และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงบประมาณ และการประเภทของการใช้ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการวางแผนทั้งหมด จึงนำมาสู่การดำเนินการติดตั้งแผงยังพื้นที่ที่ได้มีการออกแบบไว้ แล้วปิดท้ายด้วยการตรวจสอบระบบก่อนเริ่มต้นใช้งานจริง

5. การบำรุงรักษา

ไม่ว่าแผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบนั้น เมื่อติดตั้ง และใช้งานไประยะนึงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องมีการดำเนินการเป็นประจำ นั้นคือการดูแลบำรุงรักษา ทั้งตัวแผงโซล่าเซลล์ รวมไปอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้ง อินเวอร์เตอร์ โซล่าชาร์จเจอร์ และสายเชื่อมต่อต่าง ๆ เพื่อให้การใช้งานยังคงประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการติดตั้งระบบใหม่ ๆ และทำให้สามารถใช้งานได้ทนนานตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น คือ ไม่ต่ำกว่า 25 – 30 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งจะทำให้ยิ่งเกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุนที่สูงยิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะลงทุนดำเนินการใด สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่จะลงทุน สาระที่นำมาบอกเล่าเกี่ยวกับ แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง คงทำให้ผู้ที่สนใจมีความเข้าใจในด้านการคิดวางแผน ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานเองมากขึ้น แต่หากไม่ต้องการยุ่งยาก อยากมีผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการให้ครบถ้วนทุกขั้นตอน เราขอแนะนำบริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทที่ปรึกษา และให้บริการกแบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแล ตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creatio

โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม