โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน กับ 5 เงื่อนไขเพื่อการขายไฟคืนแก่ กฟภ. ที่ผู้สนใจควรรู้

การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังเป็นอีกกระแสที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะกับผู้ที่สนใจและให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้า และมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานเป็นของตนเอง โดยนอกจากจะผลิตเพื่อใช้งานภายในบ้านเรือนของตัวเองแล้ว ยังมีโอกาสทำเงินกลับคืนมาเป็นรายได้เสริม จากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้เกินกว่าปริมาณที่มีการใช้งาน ยังสามารถนำมาขายคืนให้กับการไฟฟ้าผ่าน โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดูแลโครงการได้มีการประกาศเงื่อนไขการขายไฟคืนแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำหรับบ้านพักอาศัยที่อยู่นอกเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยเท่านั้น
สำหรับการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ได้แบ่งผู้ใช้ไฟฟ้าออกเป็นประเภทต่าง ๆ รวม 8 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย ประเภทบ้านอยู่อาศัย ประเภทกิจการขนาดเล็ก ประเภทกิจการขนาดกลาง ประเภทกิจการขนาดใหญ่ ประเภทกิจการเฉพาะอย่าง ประเภทองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ประเภทสูบน้ำเพื่อการเกษตร และประเภทไฟฟ้าชั่วคราว ซึ่งบุคคลผู้เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัยเท่านั้น ที่จะมีสิทธิในการเข้าร่วม โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน เพื่อนำกระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งาน ขายคืนให้แก่การไฟฟ้าเพื่อนำไปกระจายให้แก่บุคคลอื่น ๆ ต่อได้
2. มีการติดตั้งระบบ Solar Rooftop เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง และนำไฟฟ้าเหลือใช้มาขายต่อ
เนื่องจากทิศทางหรือแนวโน้มในอนาคตพลังงานไฟฟ้าจะเป็นที่ต้องการในปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวของเมือง และการเติบโตของอุตสาหกรรมรวมไปถึงธุรกิจ รัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้ภาคประชาชนหันมาใช้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เอง ช่วยทำให้เกิดโรงไฟฟ้าขนาดย่อยภายในครัวเรือน และหากมีไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้ ก็สามารถนำเข้าสู่ระบบผ่านตัวกลางอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่จะทำหน้าที่รับซื้อผ่าน โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน เพื่อนำไฟฟ้าที่ได้ไปเข้าสู่ระบบสายส่งเสริมกำลังการผลิต โดยไม่ต้องตั้งโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่
3. มีกำลังการผลิตตามเกณฑ์ที่ กฟภ. กำหนด
สำหรับบ้านเรือนที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์ ซึ่งมีความประสงค์จะเข้าร่วม โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน จะต้องมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่กำลังการผลิตไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ เชื่อมต่อแบบ 3 เฟส และไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ สำหรับการเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส เพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อสถานที่ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัย และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงในการดำเนินการในการติดตั้ง ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึง และร่วมโครงการได้ยาก
4. ต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการตรวจสอบระบบก่อนการเชื่อมต่อแก่ กฟภ.
ในการเข้าร่วม โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน นั้น จำเป็นต้องมีการขออนุญาตตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนดำเนินการ ทั้งการออกแบบระบบไฟฟ้า การติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ต้องเป็นรุ่นและแบรนด์ที่ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งยังต้องทำหน้าที่ในการชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการตรวจสอบระบบก่อนทำการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2,000 บาท ไม่รวม Vat แต่หากรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตดำเนินการ จะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10,000 บาท ต่อราย
5. ราคาซื้อหน่วยละ 2.2 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี
สำหรับผลตอบแทนที่ผู้เข้าร่วม โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน จะได้รับจากการขายไฟฟ้าคืน จะได้รับเงินในราคาหน่วยละ 2.2 บาท ซึ่งจะมีสัญญาซื้อขายเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยอัตราโดยรวมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. รับซื้อ อยู่ที่ประมาณ 5 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งหากพิจารณาในแง่ของความคุ้มค่านับว่าเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อย เพราะนอกจากจะมีไฟฟ้าที่ผลิตเองได้ไว้ใช้งานแบบฟรี ๆ แล้ว ยังสามารถมีรายได้เพิ่มเติมเป็นค่าตอบแทน เพื่อนำมาใช้ในการบำรุงรักษาระบบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยาวนานอีกด้วย
สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของบ้านพักอาศัย ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีความสนใจจะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และต้องการเข้าร่วม โครงการโซล่าเซลล์ภาคประชาชน สามารถเข้าไปติดตามศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://ppim.pea.co.th โดยหากมีข้อสงสัยต้องการให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเข้าไปดูแลอำนวยความสะดวก เราขอแนะนำบริษัทโซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ซึ่งเป็นบริษัทติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ให้บริการแบบครบวงจร พร้อมให้บริการด้วยทีมงานคุณภาพ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

