อยากเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ต้องทำอย่างไร

Nung Pr • 21 ตุลาคม 2564

เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ไม่ยากอย่างที่คิด

ภาพด้านบนที่หมอโซลาร์ ยืมมาจากเว็บไซต์ สำนักงานคณะการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการโดยตรง ของโครงการนี้ จะเห็นได้ว่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชน เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2562 และต่ออายุเรื่อยมา จนถึงตอนนี้ 2564 ซึ่งโควต้าที่เปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป บนหลังคา หรือ หลังคาโซลาร์เซลล์ จากบ้านพักอาศัยทั่วไป ก็น้อยลงเรื่อย ๆ 

เพราะมีผู้ในใจมากขึ้น และเข้าร่วมโครงการมากขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ ที่ราคารับซื้อไฟฟ้า ขยับขึ้นจาก หน่วยละ 1.68 บาท มาเป็น 2.20 บาท ประกอบกับช่วงสถานการณ์โควิด ที่คนทำงานอยู่บ้านกันมากขึ้นและใช้ไฟกลางวันมากขึ้น จึงมองเห็นความสำคัญของพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาช่วยลดค่าไฟฟ้าตอนกลางวันได้ และส่วนที่เหลือก็สามารถขายคืนได้ ทำให้โครงการนี้ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จนเรียกได้ว่า ทีมงานขายไฟ ทำงานกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว

วันนี้ หมอโซลาร์ จะมาเล่าถึงขั้นตอนง่าย ๆ ในการยื่นขายไฟ ว่าต้องทำอย่างไร จึงสามารถเข้าร่วมโครงการได้อย่างเสร็จสิ้น

7 ขั้นตอนสำคัญในการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน

1.สมัครเข้าร่วมโครงการออนไลน์

หลังจากดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องยื่นเอกสารเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ผ่านเว็บไซต์ ของ กฟน. หรือ กฟภ.
ซึ่งสามารถทำได้แบบออนไลน์ โดยรายการเอกสารก็จะมีค่อนข้างเยอะพอสมควร ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ กำลังการผลิต แผนภูมิไฟฟ้าเชิงเดี่ยว หรือ Single Line Diagram ที่มีวิศวกรไฟฟ้าเซ็นต์รับรองแบบ สถานที่ติดตั้ง ฯลฯ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากได้ทีมงานติดตั้ง ที่ดำเนินการให้แบบครบวงจร เจ้าของบ้านก็เตรียมเพียงบิลค่าไฟฟ้า กับสำเนาบัตรประชาชน และเซนต์ หนังสือมอบอำนาจเท่านั้น ส่วนที่เหลือ ทีมงานติดตั้ง ก็จะดำเนินการให้ทั้งหมด


แต่หากเลือกทีมงานที่รับติดตั้งอย่างเดียว อันนี้หมอโซลาร์ขอแอบเตือนด้วยความหวังดีว่า ตรวจสอบก่อนที่จะจัดจ้างว่า ชุดอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งให้กับบ้านของเรา สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้หรือไม่ เพราะบางทีม อาจมีการยัดไส้ ด้วยการใช้ของราคาถูก ที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้ากำหนด อันนี้จะเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องแก้ไขกันจากงานติดตั้งเลยทีเดียว ....ของถูก ก็จะกลายเป็นของแพงทันทีเลยล่ะครับ

2.ประกาศผลจากการไฟฟ้าจำหน่าย (กฟน. หรือ กฟภ.)

หลังจากยื่นเอกสารทั้งหมดแล้วเสร็จ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารไม่เกิน 7 วัน (ขึ้นอยู่กับปริมาณของเอกสารในแต่ละช่วง) ซึ่งหากมีเอกสารอะไรที่ต้องแก้ไข เราก็จะได้รับ E-mail ว่าต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมบ้าง ซึ่งหากทุกอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก็รอการพิจารณาว่า เราจะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ไหม


ซึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญก็คือ พิกัดหม้อแปลงที่เราใช้งาน นั่นหมายถึงว่า บ้านที่ใช้หม้อแปลงของการไฟฟ้าใบเดียวกัน จะมีกำลังการผลิตติดตั้ง ไม่เกิน 15 เปอร์เซนต์ของพิกัดหม้อแปลง เช่น หม้อแปลง 1000KVA ก็จะสามารถติดตั้งได้ไม่เกิน 150 กิโลวัตต์ ซึ่งหากในละแวกที่เราอยู่ ที่ใช้ไฟจากหม้อแปลงเดียวกัน มีการติดตั้งโซลาร์รวมกันแล้วไม่ถึง 150 กิโลวัตต์ อันนี้เราก็จะสามาถเข้าร่วมโครงการได้ครับ

ซึ่งการไฟฟ้าจะประกาศรายชื่อของผู้ที่ผ่านการพิจารณาเป็นรอบ ๆ ว่าบ้านของใครผ่านเข้าร่วมโครงการแล้วบ้าง

ตัวอย่างประกาศรายชื่อบ้านที่สามารถเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน)

3. ลงนามในสัญญาขายไฟในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน และชำระค่าใช้จ่าย

หลังจากประกาศรายชื่อแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการลงนามในสัญญาขายไฟกับการไฟฟ้า และชำระค่าใช้จ่ายการตรวจสอบระบบ ซึ่งปัจจุบัน กกพ. ได้ลดค่าธรรมเนียมเหลือเพียง. 2,140 บาทเท่านั้น (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยการลงนามในสัญญาขายไฟ เจ้าของมิเตอร์ จะดำเนินการด้วยตัวเอง หรือให้ทีมงานติดตั้งรับมอบอำนาจไปลงนามแทนก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่การพูดคุย และตกลงกัน


ซึ่งสัญญาขายไฟนี้มีระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เราเริ่มปล่อยไฟเข้าสู่ระบบ

4. ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า โซลาร์รูฟท็อฟ ให้เสร็จสิ้น ก่อนยื่นเอกสารเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน


จริง ๆ แล้วเรื่องการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ โซลาร์รูฟท็อฟ ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากเรื่องหนึ่งนะ ซึ่งเดี๋ยวหมอโซลาร์ จะมาช่วยชี้แจงแถลงไข ให้ในบทความต่อ ๆ ไป แต่ตอนนี้เรามา Focus เรื่องการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนก่อน


ปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการติดตั้ง ต้องมีการตรวจสอบระบบว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง ผ่านมาตรฐานของการไฟฟ้าหรือไม่ ทั้ง การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ต่างก็มีระเบียบการพิจารณาที่แตกต่างกันไปเช่น


อุปกรณ์แปลงผันไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า อินเวอร์เตอร์ อุปกรณ์สำคัญที่จะแปลงไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ มาเป็นไฟฟ้าที่ใช้กับบ้าน จะต้องได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าในพื้นที่ (กฟน. หรือ กฟภ.) ที่เราเรียกว่า Approved List จึงจะสามารถนำมาติดตั้งได้


เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องทำงานตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด เช่น กรณีที่ไฟดับ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ จะต้องหยุดทำงานด้วย รวมถึงมาตรฐานงานติดตั้ง จะต้องเป็นไปตามที่การไฟฟ้ากำหนดด้วยเช่นกัน


ที่หมอโซลาร์บอกว่าขั้นตอนนี้สำคัญ เนื่องจาก หากระบบไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ต้น การตรวจสอบจากการไฟฟ้าแล้วไม่ผ่าน ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ครับ


5. ยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ.

โดยปกติแล้ว หากเราจะผลิตไฟฟ้า หรือมีรายได้จากการผลิตไฟฟ้า จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ก่อน


ซึ่งโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ก็เป็นการผลิตไฟฟ้าและได้รายได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นผู้ผลิตไฟขนาดเล็กมาก สำนักงาน กกพ. จึงจะออกใบจดแจ้งยกเว้น ไม่ต้องขอใบอนุญาตให้ ซึ่งเราจะต้องยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์

ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักฐานประกอบการยื่นพอสมควร ซึ่งสามารถทำตามคำแนะนำในเว็บไซต์ กกพ.ได้เลย

ขั้นตอนนี้จะไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่อาจจะใช้เวลานานสักนิด เนื่องจากบ้านทุกหลังที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ต้องยื่นเอกสารไปที่นี่ที่เดียว ซึ่งจะต้องมีเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วนเช่นเดียวกัน

6. ติดต่อการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า

หลังจากดำเนินการ 5 ขั้นตอนด้านบนเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการตรวจสอบระบบ


เพราะขั้นตอนที่ผ่านมา จะเป็นการตรวจสอบผ่านเอกสารที่ยื่นเข้าระบบออนไลน์ ขั้นตอนนี้จะมีเจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้าจำหน่าย (กฟน. หรือ กฟภ.) มาตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า หรือโซลาร์รูฟท็อป ว่า ที่เรายื่นเอกสารเข้าไป หรือรายละเอียดการติดตั้งที่ระบุไว้ใน Single line Diagram


งานติดตั้งจริง ตรงตามที่ระบุไว้หรือไม่ อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ ตรงตามเอกสารที่ยื่นไว้หรือไม่ รวมถึงอาจมีการตรวจสอบการทำงานของระบบ เช่นหากสับเบรกเกอร์ของบ้านลง ระบบโซลาร์ หยุดการทำงานหรือไม่ เป็นต้น


ซึ่งโดยทั่วไป ขั้นตอนนี้ จะมีวิศวกร หรือทีมงานติดตั้ง เข้าไปร่วมตรวจสอบกับการไฟฟ้าด้วย เพราะหากมีคอมเมนท์จากการไฟฟ้า ว่าต้องแก้ไขจุดไหน จะได้รับมาดำเนินการ หรือชี้แจงส่วนที่สงสัยได้ ซึ่งหากการตรวจสอบเสร็จสิ้น เราก็จะได้รับ E-mail จากการไฟฟ้าว่า ระบบของเราพร้อมทำงาน เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ จ่ายไฟเข้าสู่ระบบเท่านั้นครับ

7. ขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD)

ขั้นตอนสุดท้าย คือการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบ ซึ่งจะเป็นการเสร็จสิ้นการดำเนินการขออนุญาต และเป็นการเข้าสู่กระบวนการของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน แบบสมบูรณ์


ซึ่งขั้นตอนนี้ การไฟฟ้าในพื้นที่ จะโทรนัดหมาย เพื่อเปลี่ยนมิเตอร์หน้าบ้าน เป็นมิเตอร์ขายไฟ ที่สามารถดูค่าการผลิตไฟได้ทั้ง ไฟที่เราซื้อจากการไฟฟ้า และไฟที่เราขายคืนการไฟฟ้า

โดยใช้เวลาไม่นาน หลังจากเปลี่ยนมิเตอร์เสร็จ เราก็จะได้รับ Email ว่าวันเริ่มต้นขายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) เป็นวันที่เท่าไหร่ ซึ่งนับแต่วันที่ระบุในเอกสาร ไฟฟ้าที่ผลิตลงมาจากหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งอยู่นั้น หากมีส่วนที่เหลือจากการใช้งาน เราก็จะได้รับเงินคืนทันที โดยวิธีการจ่ายเงินคืน ได้พูดแล้วในตอนที่แล้ว (คลิกไปอ่านได้ที่นี่)




อยากเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน แต่ไม่อยากทำเอง ต้องทำอย่างไร

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนเริ่มถอดใจว่าขั้นตอนทั้งหมด ดูยุ่งยาก และต้องใช้เอกสาร เวลา และการศึกษาค่อนข้างเยอะ


หมอโซลาร์ ขอแนะนำทางลัด เป็นวิธีการง่าย ๆ แบบสบายใจที่สุด


นั่นคือหาทีมติดตั้ง ที่ดำเนินการทุกขั้นตอนให้ครบ จบที่เดียวได้เลย


เพราะเอกสารบางอย่าง หรืองานติดตั้งบางจุด ทีมติดตั้งจะต้องประสานงานกับการไฟฟ้าฯ ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีข้อกำหนดที่ไม่เหมือนกัน หากได้ทีมติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนี้ งานนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย


แค่ลงทุนในระบบแล้วมอบหน้าที่การดำเนินการทั้งหมดให้ทีมติดตั้งเป็นผู้ดูแล เท่านี้ เราก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนได้อย่างง่าย ๆ แล้วล่ะครับ


สนใจอยากให้หมอโซลาร์ พาบ้านของคุณเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ก็ติดต่อเรามาสิครับในช่องทางที่ท่านสะดวกได้เลย


โทร : 082-628-2456

Line ID : @solarpowercreation  หรือคลิกที่ Link นี้

Facebook : Solar Power Creation


หมอโซลาร์พร้อมให้คำแนะนำ แบบไม่มีกั๊ก ที่ครบ จบที่เดียวแน่นอนครับ

โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม