สรุป 5 ขั้นตอน วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เข้าใจง่ายภายใน 5 นาที

Nung Pr • 6 ตุลาคม 2565
ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

พลังงานไฟฟ้าจัดเป็นทรัพยากรที่จำเป็นอย่างมากในทุกวันนี้ ซึ่งด้วยต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้น ก็ยิ่งทำให้ราคาค่าไฟขยับตัวสูงขึ้นไปด้วย เลยมีเจ้าของบ้าน อาคารสำนักงาน โรงงานทยอยปรับเปลี่ยนมาผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยใช้ระบบโซล่าเซลล์เข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งผู้ที่สนใจ ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพูดคุย ตกลงกับบริษัท และช่างผู้รับเหมาติดตั้ง ได้อย่างไม่สับสน และไม่โดนหลอก ซึ่งจะมีรายละเอียดขั้นตอนอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เลย

1. ติดตั้งโครงสร้างรองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์

สำหรับบ้านเรือน หรืออาคารต่าง ๆ ก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะต้องมีการสำรวจความพร้อมของโครงสร้างที่จะติดตั้งก่อน โดยเฉพาะบริเวณหลังคา หรือดาดฟ้า อาคาร ซึ่งจะต้องมีการออกแบบและติดตั้งวัสดุยึดแผง หรือ Solar Mounting เพื่อเสริมความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักแผง ป้องกันการทรุดตัวของหลังคา และไม่ทำให้เกิดการรั่วซึม จากแนวกระเบื้องที่ไม่แนบสนิท ซึ่งหากไม่มีการติดตั้งจะเกิดปัญหา และผลกระทบในภายหลังการติดตั้งได้ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหรืออาคารจึงต้องตรวจสอบ วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ในขั้นตอนนี้ด้วย

2. ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยึดกับโครงสร้างตามแบบแปลน

หลังจากที่มีการจัดซื้อแผงโซล่าเซลล์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับงบประมาณ และตามจำนวนที่มีการคำนวณว่าเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึง วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ในขั้นตอนต่อมา คือ การนำแผงโซล่าเซลล์มายึดกับโครงสร้างตามแบบแปลนที่ได้มีการออกแบบไว้โดยวิศวกรที่มีความชำนาญ ในกระบวนการนี้ช่างจะดำเนินการนำแผงโซล่าเซลล์ทยอยขึ้นไปติดตั้ง โดยจะหันแผงไปยังทิศทางที่เหมาะสม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีระดับความลาดเอียงที่ประมาณ 15 – 20 องศา

3. ติดตั้งตัวแปลงไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์

เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นรูปแบบกระแสตรง หรือ DC ซึ่งหากจะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า อินเวอร์เตอร์ มาทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ หรือ AC ก่อน โดยการเลือกอินเวอร์เตอร์นั้น ควรพิจารณาจากลิสต์รายชื่อที่ผ่านการตรวจสอบ และรับรองโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยเฉพาะบ้าน หรือหน่วยงานที่จะดำเนินการเชื่อมต่อขนานไฟกับการไฟฟ้าที่ต้องยื่นขออนุญาต และต้องได้รับการตรวจสอบให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานก่อนจึงจะดำเนินการขายไฟคืนให้การไฟฟ้าได้

4. ติดตั้งเครื่องควบคุมการชาร์จ หรือ Solar Charge Controller

สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่เป็นระบบพึ่งตัวเอง ไม่ได้อาศัยไฟฟ้าจากระบบสายส่ง หรือที่เรียกกันว่า ระบบออฟกริด ใน วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อควบคุมการประจุไฟฟ้าเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ หรือ Solar Charge Controller เพื่อไว้ใช้งานในช่วงเวลากลางคืน ที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และระบบโซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว ซึ่งอุปกรณ์นี้จะช่วยควบคุมความเสถียรในการชาร์ต และช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

5. ติดตั้งท่อร้อยสายไฟ และเดินสายไฟไปยังตู้ควบคุม

มาถึง วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ในขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ การติดตั้งท่อร้อยสายไฟ และเดินสายเชื่อมต่อจากแผงโซล่าเซลล์ พ่วงเข้ากับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งเครื่องแปลงไฟฟ้า หรืออินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมการชาร์ต หรือ Solar Charge Controller แบตเตอรี่ และรวมสายทุกจุดมารวมไว้ที่ตู้ควบคุม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการบริหารระบบโซล่าเซลล์ หลังจากนั้นจะมีการทดลองการใช้งานจริง เพื่อตรวจเช็คอีกครั้งว่าระบบสามารถใช้งานได้เป็นปกติ ไม่มีความบกพร่อง เพื่อเปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าต่อไป

จะเห็นได้ว่า วิธีติดตั้งแผงโซล่าเซลล์  มีเพียงไม่กี่ขั้นตอน ก็สามารถเริ่มต้นใช้งานไฟฟ้าที่ผลิตได้ด้วยตัวเองได้แล้ว ถือเป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถประหยัดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมมีไฟฟ้าใช้ฟรี ๆ ในระยะยาว 25  - 30 ปี เลยทีเดียว โดยหากเจ้าของบ้าน หรือผู้บริหารหน่วยงาน ที่ต้องการประหยัดต้นทุนค่าไฟด้วยการผลิตไฟใช้เอง สามารถขอรับคำแนะนำกับบริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทที่ปรึกษาและให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

โดย Nung Pr 8 มกราคม 2567
หยุดทำให้โซลาร์ ต้องกลายเป็นผู้ต้องหากันเถอะ
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
ในแต่ละเดือน ทุกครอบครัวจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป แต่มีหนึ่งสิ่งที่ทุกสถานที่ต้องจ่ายเช่นเดียวกัน ก็คือ ค่าไฟฟ้า ซึ่งยิ่งใช้มาก ก็จะมียอดเรียกเก็บในแต่ละเดือนสูงขึ้น โดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่หลาย ๆ แห่งประสบปัญหา ค่าไฟแพงมาก จนอยากหาทางออก ที่ไม่ใช่แค่การประหยัดไฟ ซึ่งบางครั้งก็รบกวนสร้างความยุ่งยาก ลำบาก ไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร โดยการหาทางแก้อย่างยั่งยืนได้นั้น ก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสาเหตุของวิกฤติ ค่าไฟแพงมาก นั้นมาจากอะไร ซึ่งคงมีหลายคนที่สงสัย และต้องการหาคำตอบว่ามีต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจ ให้กระจ่างกัน 1. ความผิดปกติของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด ปัญหา ค่าไฟแพงมาก อาจจะมีหนึ่งในสาเหตุมาจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมากกว่าผิดปกติ หรือเป็นไปได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดาจะเกิดความเสื่อมสภาพภายใน จนทำให้กินไฟมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์รุ่นเก่า ๆ ที่ใช้งานมานาน และไม่ได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีประหยัดไฟฟ้าซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งหากพบว่ามาจากสาเหตุนี้ ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงซ่อมแซม หรือซื้อเครื่องใหม่ที่ใช้งานได้เป็นปกติทดแทน ซึ่งจะช่วยให้สามารถประหยัดไฟฟ้า และช่วยลดค่าไฟให้ต่ำลงได้ 2. เกิดไฟฟ้ารั่วในบางจุด หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆไม่ได้ทำกิจกรรมหรือจัดงานอะไรพิเศษที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าธรรมดา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าปัญหา ค่าไฟแพงมาก จะมีสาเหตุมาจากเกิดไฟฟ้ารั่วไหลในบางจุด ซึ่งมีการเสื่อมสภาพของสายไฟ หรือมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนูมากัดแทะสายไฟ จนทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าช๊อต และไหลออกโดยไม่ได้ใช้งาน หากมีการตรวจสอบที่ชัดเจนแล้ว ก็ควรเร่งติดต่อช่างไฟฟ้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ไม่ควรดำเนินการเอง หากไม่มีความชำนาญ 3. ความผิดพลาดของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็อาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุภายในสถานที่ซึ่งใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก็เป็นไปได้หลายครั้งที่พบว่าเกิดจากความผิดพลาดของผู้เกี่ยวข้องในระบบจัดการคิดคำนวณค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำหน้าที่จดมิเตอร์ หรือระบบในการจัดส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ยอดที่แสดงผลในบิลค่าไฟฟ้ารายเดือนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะต้องมีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเร่งตรวจสอบ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการรับผิดชอบแก้ไข 4. การปรับตัวของต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟฟ้า อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เป็นต้นตอของปัญหา ค่าไฟแพงมาก ก็มาจากการปรับตัวของต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมโรงไฟฟ้าที่ถูกผลักมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องแบกรับผ่านค่า ft ซึ่งจะมีการทบทวนและประกาศใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน แม้ว่าจะใช้ไฟฟ้าในจำนวนหน่วยเท่าเดิม แต่หากค่า ft ปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ที่ค่าไฟจะพุ่งสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5. การใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติตามฤดูกาล ในแต่ละเดือนของแต่ละปี จะมีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป โดยฤดูกาลก็มีผล อย่างฤดูฝนหรือฤดูหนาว ก็จะมีการใช้ไฟฟ้าที่น้อยกว่าฤดูร้อน ซึ่งจะต้องเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ พัดลมมากกว่าปกติ ซึ่งชุดเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็กินไฟสูง จึงเป็นเหตุให้ ค่าไฟแพงมาก กว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อการหาทางเลือกอื่น ๆ ที่ช่วยให้ประหยัดค่าไฟในฤดูร้อนได้ดี ก็อาจจะเป็นตัวช่วยให้ค่าไฟฟ้าในเวลานั้นไม่สูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีได้ ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงได้ จากสาเหตุ ค่าไฟแพงมาก ที่รวบรวมมาคลายความสงสัยให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อจะได้วางแผนในการตรวจสอบและแก้ไข โดยหนึ่งทางออกที่ช่วยสยบปัญหานี้ได้อย่างอยู่หมัดก็คือ การเลือกใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วย โดยหากท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน แต่เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะต้องทำอะไรก่อนดี สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โดย Nung Pr 9 ตุลาคม 2566
เสียงบ่นเรื่องค่าไฟแพงมักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ซึ่งมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่าช่วงอื่น ๆ ในแต่ละปี โดยอาจจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่ามีสาเหตุหรือต้นทางมาจากอะไร เราจึงอยากชวนผู้ใช้ไฟทุกคนมาทำความเข้าใจกันว่าปัญหา ค่าไฟแพง 2566 มีปัจจัยใดเป็นตัวสนับสนุน แล้วเราจะหาทางออกให้กับวิกฤติเรื้อรังนี้ยังไงให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานสำคัญและมีความจำเป็นสำหรับทุกสถานที่ และทุกคน โดยเฉพาะในอนาคตที่คาดว่าจะต้องใช้ในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น การมารู้จักสาเหตุ ค่าไฟแพง 2566 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ไม่ต้องเครียดกับปัญหาค่าไฟที่ผลักดันให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย 1. การพึ่งพาและนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างชาติ ที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรายังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีแหล่งผลิตอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทำให้ไม่สามารถควบคุมโครงสร้างราคาได้ โดยเฉพาะหากมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น การหยุดซ่อมแซมเพื่อปรับปรุงระบบขุดเจาะหรือนำส่ง การเกิดภาวะสงครามหรือความขัดแย้งในประเทศนั้น ๆ จำนวนปริมาณพลังงานที่มีจำนวนน้อยลง จนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 ทั้งสิ้น 2. การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ระบบโรงผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับความเสี่ยงกรณีขาดแคลนเชื้อเพลิงเหล่านี้ ซึ่งต้องมีการหาแหล่งสำรอง ที่อาจจะมีราคาที่สูงขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัด จึงต้องมีการจัดซื้อ เพื่อให้มีต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโดยรวม นี่จึงนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดวิกฤติ ค่าไฟแพง 2566 3. รูปแบบต้นทุนการผลิต ที่ผลักภาระไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าของรัฐ หรือเอกชน จะนำมาคำนวณรวมกันแล้วเฉลี่ยเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างค่าไฟฟ้าที่ทุกสถานที่ผู้ใช้ไฟจะต้องแบกรับ ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป แปรผันตามปริมาณการใช้งาน ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจะต้องจ่ายค่าไฟสูงขึ้น ค่าไฟแพง 2566 ส่วนหนึ่งจึงมาจากรูปแบบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่จะผลักดันภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระขาดทุนที่ภาครัฐจะต้องแบกรับ หรือนำภาษีที่จัดเก็บได้มาอุดหนุน 4. การสำรองไฟฟ้าไว้ใช้งานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า และไม่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก กรณีเกิดการขาดแคลน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟ ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง จึงต้องมีการวางแผน เพื่อดำเนินการสำรองกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานให้เพียงต่อ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน หรือช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าบางแห่ง ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าบางส่วนหายไปจากระบบ ทำให้ต้องซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน ในบางครั้งอาจจะมีอัตราสำรองที่สูงเกินจริง จึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 5. นโยบายด้านพลังงานที่ไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เสถียรภาพด้านการเมือง แม้จะไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้เกิดปัญหา ค่าไฟแพง 2566 แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะนโยบายจากรัฐบาลในแต่ละยุคสมัยก็มีผลผูกพันต่อการทำสัญญาซื้อขาย และการวางแผนเพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อมีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการ ก็มักจะเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการดำเนินการ ซึ่งอาจจะกระทบกระเทือน และไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ ค่าไฟแพง 2566 จึงมีสาเหตุหรือต้นทางมาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น โดยอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การหันมาใช้พลังงานทางเลือกอย่างแสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าผ่านระบบโซล่าเซลล์ โดยสำหรับท่านใดที่สนใจในการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งาน สามารถขอคำปรึกษาและสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ จากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082-628-2456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation
โพสเพิ่มเติม