รวม 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องติดต่อก่อน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

เทรนด์ของโลกยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การหันมาใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่คนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจ ซึ่งกระบวนการใช้ไฟฟ้าฟรี รวมทั้งลดค่าไฟฟ้ารายเดือนนั้น จำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลายขั้นตอน มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องประสานงานก่อน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อให้ถูกต้อง สอดคล้องต่อกฏหมายที่ได้กำหนดไว้ ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ภายหลัง ซึ่งผู้สนใจที่จะติดตั้ง ควรศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้เข้าใจ เพื่อจะได้ดำเนินการให้ถูกต้อง มาทำความรู้จักกันว่า มีหน่วยงานใดบ้างที่ต้องติดต่อ
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ซึ่งทำการติดตั้ง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ระบุให้ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาอาคารที่อยู่อาศัย ที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งต้องมีผลการตรวจความมั่นคงแข็งแรงและได้รับการรับรองโดยวิศวกรตามกฏหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัย และและแจ้งให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ ดังนั้น ผู้ที่จะติดตั้งจึงต้องมีการยื่นคำร้องแจ้งให้ทราบ รวมไปถึงขออนุญาตปรับปรุงอาคารต่อหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ซึ่งอาคารตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต.
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.
อีกหนึ่งหน่วยงานที่ต้องติดต่อประสานงานและดำเนินการขออนุญาติ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ก็คือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “กกพ.” โดยผู้ที่มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต้องการจำหน่ายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ต้องดำเนินการแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต โดยต้องเตรียมเอกสารประกอบ ไม่ว่าจะเป็นใบขออนุญาตดัดแปลงอาคาร (อ.1) ที่ผ่านการอนุมัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนหากไม่มี อ. 1 ก็ใช้เป็นหนังสือคำร้องแจ้งการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ โดยสามารถยื่นเอกสารออนไลน์ได้ที่ www.erc..or.th
3. การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.
สำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า หากเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง จะต้องมีการประสานงาน ยื่นเอกสารเพื่อขอขนานไฟฟ้า โดยต้องมี Single Line Diagram ซึ่งเป็นแบบแปลนวงจรไฟฟ้าที่จะดำเนินการติดตั้ง ซึ่งมีวิศวกรไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตให้การเซ็นต์รับรองในการตรวจสอบ รวมไปถึง ต้องมีเอกสารการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ กกพ. เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ทางกฟน. จึงจะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบการใช้งาน ก่อนจะขนานไฟ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นใช้งานระบบโซล่าเซลล์ได้
4. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ.
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในส่วนพื้นที่ซึ่งอยู่ในต่างจังหวัดที่นอกเหนือจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. ก็จะเป็นต้องดำเนินการเช่นเดียวกับที่มีการแจ้งต่อต่อ กฟน. ทั้งในด้านการส่งแบบแปลนการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่มีวิศวกรไฟฟ้าให้การรับรอง รวมทั้งเอกสารจดแจ้งที่ได้รับการยกเว้นใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. รวมถึงการดำเนินการตรวจสอบระบบ ให้พร้อมต่อการใช้งาน สำหรับการขนานไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์เข้ากับระบบสายส่งของการไฟฟ้า ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต รวมไปถึงไปอุปกรณ์ชุดทดสอบต่าง ๆ เพิ่มเติม ซึ่งผู้ติดตั้งจะต้องดำเนินการชำระให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะมีการลงนามสัญญาขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้า และเปิดใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นทางการต่อไป
เพื่อให้ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ถูกต้องตามเงื่อนไขข้อกฏหมายที่ได้ระบุไว้ และสามารถใช้งานเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์เป้าหมายในการลดค่าไฟฟ้า ได้มีไฟไว้ใช้ฟรี ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ก่อนติดตั้งผู้สนใจจึงต้องเฟ้นหาบริษัทตัวแทนที่มีคุณภาพเข้ามาดูแล โดยหากยังไม่มีที่ไหนในใจ เราขอแนะนำ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น บริษัทชั้นนำด้านการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และระบบโซลาร์เซลล์ที่มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี มีทีมวิศวกรและช่างที่มีความเชี่ยวชาญดูแลตลอดระยะเวลาตั้งแต่สำรวจ ติดตั้ง ขออนุญาต ไปจนถึงการบำรุงรักษา โดยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และเข้าไปอ่านเนื้อหาความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

