โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ให้คุณเป็นเข้าของโรงไฟฟ้าและขายไฟคืนรัฐได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ
ไขข้อข้องใจโครงการโซลาร์ภาคประชาชน เวอร์ชั่นเข้าใจง่าย สไตล์หมอโซลาร์

ที่มาของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
โครงการโซลาร์ภาคประชาชน เป็นแนวคิดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ) ที่ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านที่อยู่อาศัย ที่ต้องการจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหบลังคา เพื่อใช้งานเองเป็นหลัก ส่วนที่เหลือสามารถขายคืนเข้าระบบได้ ซึ่งกำหนดให้การไฟฟ้าจำหน่าย ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้รับซื้อจากภาคประชาชน โดยได้ดำเนินกาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 แล้ว
โดยในปีนี้ (2564) มีเป้าหมายการรับซื้อรวมทั้งสิ้น 20 เมกะวัตต์ (MWP) โดยแบ่งเป็นโควต้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 35 กิโลวัตต์ และ การไฟฟ้านครหลวง 15 กิโลวัตต์ โดยพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงได้แต่ นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร และอีก 74 จังหวัดเป็นส่วนของการดูแลรับซื้อของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โดยการรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้ จะรับซื้อในอัตราหน่วยละ 2.20 บาท โดยมีระยะเวลาในการรับซื้อ 10 ปี
โครงการโซลาร์ภาคประชาชน รับซื้อไฟฟ้าแค่ 2.2 บาทเท่านั้น คุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่
อย่างที่หมอโซลาร์บอกไปตอนต้นว่า โครงการนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ประชาชน ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อใช้งานเองเป็นหลัก ส่วนที่เกินจากการใช้งานเอง จึงเป็นส่วนที่ประชาชนสามารถขายคืนได้
โครงการนี้จึงออกแบบมาเพื่อไม่ให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้สูญเปล่า ดังนั้นหากต้องการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน อาจต้องทำความเข้าใจให้ดี ว่าบ้านของเรามีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าแบบไหน มีการใช้ไฟตอนกลางวันหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาจุดคุ้มทุน หรือความคุ้มค่าในระยะเวลาอันสั้น
เพราะการลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หรือหลังคาโซลาร์เซลล์ เป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินจำนวนมากอยู่พอสมควร
หมอโซลาร์เคยคำนวณให้เห็นแล้วว่า หากเน้นขายไฟคืนอย่างเดียว อาจต้องใช้ 8-10 ปี กว่าจะได้เงินลงทุนนั้นกลับมา ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ ถือว่าไม่ตอนโจทย์เรื่องการลงทุน ดังนั้นเราควรจะต้องมองโครงการโซลาร์ภาคประชาชนกันใหม่ ว่าทำอย่างไร ประชาชนอย่างเรา จึงจะคุ้มค่าในการเข้าร่วมโครงการนี้
เช็คลิสต์สำคัญ ในการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนนะครับ
- ดูบิลค่าไฟของเราก่อนว่า ว่าเป็นบิลประเภท 1 หรือเปล่า เพราะตามข้อกำหนดของโครงการนี้ คือต้องเป็นบ้านพักอาศัย โดยจะมีระบุไว้ในบิลค่าไฟ ว่าเป็นผู้ใช้ไฟประเภท 1 เท่านั้น (ที่จะร่วมโครงการได้ในตอนนี้)

2. ต้องดูพื้นที่ของหลังคา ว่าเพียงพอต่อการติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือไม่ เพราะการติดตั้งเพื่อเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ใช้พื้นที่บนหลังคาพอสมควรเลย เช่นชุด 5 กิโลวัตต์ อาจใช้พื้นที่ถึง 22 ตารางเมตร หรือชุด 10 กิโลวัตต์ อาจใช้พื้นที่ถึง 44 ตารางเมตร ซึ่งเราต้องพิจารณาให้ดีว่า หลังคาของเรามีความแข็งแรงทนทานเพียงพอ และมีพื้นที่ที่หันรับแดดได้ดี (ทิศใต้ หรือทิศตะวันตก) มีพื้นที่เพียงพอด้วยหรือเปล่า

3. ต้องดูค่าไฟฟ้าในบ้านของคุณด้วยนะครับ ว่าปกติค่าไฟต่อเดือน เดือนละเท่าไหร่ และการใช้ไฟในแต่ละเดือน ใช้ไฟกลางวัน หรือกลางคืนมากกว่ากัน หากค่าไฟฟ้าของคุณน้อยกว่า 1,500 บาทต่อเดือน หรือใช้ไฟกลางคืนมากกว่ากลางวัน หมอโซล่าร์คิดว่า บ้านของคุณไม่เหมาะกับระบบนี้ เนื่องจากการติดตั้งเพื่อเน้นขายอย่างเดียว จะไม่คุ้มค่า เพราะการไฟฟ้า รับซื้อไฟฟ้าเพียงหน่วยละ 2.2 บาทเท่านั้น
หรือในกรณีที่ใช้ไฟ้าน้อยอยู่ แต่มีแผนที่จะใช้ไฟมากขึ้น เช่นตอนนี้เปลี่ยนมาทำงานอยู่บ้าน ต้องเปิดแอร์ตอนกลางวันเพิ่มขึ้น หรือมีแผนจะใช้รถไฟฟ้า ที่สามารถชาร์จตอนกลางวันได้ อันนี้ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะใช้

ภาพมิเตอร์ของโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
โครงการโซลาร์ภาคประชาชน ขายไฟคืน อย่างไร ?
เนื่องจากไฟฟ้า ไม่เหมือนสิ้นค้าอื่น ๆ ที่เราจะสามารถรู้ว่า อันไหนคือไฟซื้อ อันไหนคือไฟขาย ดังนั้น ก็มักจะมีคนสงสัยอยู่เสมอว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราขายไฟคืนให้การไฟฟ้าไปแล้วเท่าไหร่ อย่างไร
อันนี้จริง ๆ ต้องพิจารณาให้ดีตั้งแต่การติดตั้งเลยครับ เพราะอินเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งเรียกว่า Power Sensor ที่ไม่ได้แถมมาพร้อมในชุดติดตั้ง ต้องซื้อเพิ่ม และติดตั้งเพิ่มเติมในระบบ
โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะสามารถอ่านค่าพลังงานได้ว่า ณ ปัจจุบัน บ้านของเราใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์อยู่ หรือต้องดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ร่วมด้วยมากน้อยแค่ไหน
และยังสามารถบอกได้ว่า หากเราผลิตไฟมากกว่าที่เราใช้งาน ส่วนนั้นเองก็จะเป็นการขายคืนให้กับการไฟฟ้าในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน นั่นเอง

ตัวอย่าง ภาพที่แสดงใน Application ของอินเวอร์เตอร์ Huawei
ที่แสดงข้อมูลของไฟส่วนที่เราใช้เอง และไฟฟ้าส่วนที่เราขายคืน
จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่า ส่วนที่เป็นสีเขียว คือส่วนที่การผลิตไฟ เกินกว่าส่วนที่ใช้งานจริง ไฟที่ผลิตได้ก็จะไหลออกไปตามสายส่ง ขายคืนการไฟฟ้า ซึ่งในระบบของ Huawei จะขึ้นว่าเป็นส่วนที่เรา Export ไป ซึ่งเราก็จะทราบว่า วันนี้เราขายไฟให้กับการไฟฟ้าได้เท่าไหร่
โดยข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลฝั่งขอผู้ใช้งาน
ซึ่งในฝั่งของการไฟฟ้าเองก็จะต้องมีการมาเปลี่ยนมิเตอร์หน้าบ้าน เป็นมิเตอร์ขายไฟ ซึ่งมิเตอร์นี้จะสามารถวัดค่าพลังงานมากกว่ามิเตอร์ทั่วไป โดยวัดทั้งไฟซื้อและไฟขายได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากการติดตั้งระบบถูกต้องสมบูรณ์ ข้อมูลของทั้งของเจ้าของบ้านและของการไฟฟ้าต้องตรงกัน หรือต้องใกล้เคียงกันมากที่สุด
โดยเมื่อถึงรอบการจดหน่วยและชำระค่าไฟฟ้า ในบิลค่าไฟก็สรุปมาว่า เดือนนี้เราซื้อไฟจากการไฟฟ้ามาเท่าไหร่ และขายคืนไปเท่าไหร่ และจ่ายเฉพาะส่วนต่าง (ในกรณีที่ซื้อมากกว่าขาย
หรือหากเดือนไหนเราแทบไม่ได้ใช้ไฟเลย มีไฟที่ขายมากกว่าไฟที่ซื้อ การไฟฟ้าก็จะโอนเงินส่วนที่เหลือเข้าบัญชีของเราที่ได้ยื่นเข้าระบบไว้เมื่อตอนขายไฟเลยครับ*
* ณ เวลานี้ ระบบนี้ใช้เฉพาะของการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

ตัวอย่างบิลค่าไฟฟ้าในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน
จากใบเสร็จข้างบนจะเห็นว่า ในเดือน ตุลาคม 2564 บ้านหลังนี้ ซื้อไฟจากการไฟฟ้ามาทั้งสิ้น 6,156.79 บาท และขายไฟคืนการไฟฟ้าที่ 603.31 บาท จึงมียอดเหลือชำระ กฟน. เพียง 5,553.48 บาท
ซึ่งจากเดิมค่าไฟฟ้าของบ้านหลังนี้ก่อนติดตั้งโซลาร์ ไม่เคยต่ำกว่า 10,000 บาท แต่หลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้ว ก็สามารถประหยัดไฟที่ใช้ในตอนกลางวัน และส่วนที่เหลือก็ขายคืนการไฟฟ้าได้อย่างสบายใจขึ้นได้ครับ
หมอโซลาร์ เคยทำวีดีโอสั้น ๆ เกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชน เป็น infographic ง่าย ๆ ไว้ให้นะครับ หากสนใจลองคลิกชมดูได้ครับ
และตอนหน้า หมอโซลาร์ จะพาไปเจาะลึกวิธีการเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ที่อาจจะไม่มีใครเคยบอกละเอียดแบบนี้มาก่อนนะครับ
ขั้นตอนอาจจะดูเยอะแยะวุ่นวาย แต่สบายใจได้ครับ หากให้หมอโซลาร์ช่วยดูแล เพราะเราดำเนินการให้ครบ จบทุกอย่าง ตั้งแต่งานติดตั้งไปจนถึงการยื่นขายไฟในโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเลยครับ หรือหากใครอยากทราบว่าโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ต้องทำอย่างไรบ้างสามารถกดคลิกที่
ลิงค์นี้ ได้เลยครับ

